พฤติกรรม และความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 414 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ (Statistics) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การแจกแจงความถี่ (Frequency) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบแบบ (One way ANOVA) หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนมากเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50.2 มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 56 มีอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 49.3 มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 65.5 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 76.1 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 46.6 และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 97.6 ในส่วนของผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรม และความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ดังนี้ (1) พฤติกรรมของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนมากเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ คือ อาหารครบ 5 หมู่ คิดเป็นร้อยละ 45.4 มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการเข้ารับบริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ คือ 100-250 บาท คิดเป็นร้อยละ 62.3 มีช่องทางที่ทำให้เข้าถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพ คือ อินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 53.1 เหตุผลในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ คือ เพื่อสุขภาพที่ดี คิดเป็นร้อยละ 57 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ คือ บริโภคแล้วทำให้ร่างกายแข็งแรง คิดเป็นร้อยละ 47.6 มีรูปแบบด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ คือ บริโภคเป็นอาหารมื้อปกติ คิดเป็นร้อยละ 76.1 และมีความถี่ในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพต่อสัปดาห์ส่วนใหญ่ คือ ปานกลาง (2-3 วัน/สัปดาห์) คิดเป็นร้อยละ 37.7 และ (2) ผู้บริโภคมีความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริโภคมีความต้องการสูงสุด คือ ด้านความมีประโยชน์ (Usefulness) ( = 4.59) รองลงมาคือ ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Quality) ( = 4.58) และอุปกรณ์ (Accessory) ( = 4.50) ตามลำดับ
ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่แตกต่างกันในด้านทัศนคติของผู้บริโภค
Article Details
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบและตารางประกอบที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบจะเป็นพระคุณยิ่ง
References
Boonphon, W. (2010). Health Food Consumption Behaviors of Bangkok Metropolitan Residents. Thesis. Master of Arts program in Home Economics for Community Development, Ramkhamhaeng University.
Choketaworn, L. and Donkwa, K. (2017). Impacts of Marketing Mix and Attitude toward Clean Food Purchased Decision of Consumers in Nakhon Ratchasima Province. KKU Research Journal, 5(1), 79-91. (In Thai).
Chootom, N. (2016). Factors affecting buying decision for Clean food in Amata Nakorn Industrial Estate in Chonburi province. Thesis. Chonburi: Burapha University.
Chokratsamesiri, N. (2015). Marketing mix factors that are related to loyalty Consumer loyalty
In choosing affordable hotel services In Muang District, Nakhon Pathom Province. Thesis. Master of Business Administration, Graduate School, Silpakorn University.
Ministry of Public Health. (2019). Dietary Reference Intake for Thais 2020. Nonthaburi:
Bureau of Nutrition (BoN), Department of Health, Ministry of Public Health.
National Statistical Office. (2017). Demographic statistics in Bangkok Population Statistics-
Science, Bangkok. Searched on 2 December 2019.
Retrieved from http://statbbi.nso.go.th.
Navaratana Na Ayudhya, T. (2006). Services Marketing: Concepts and Strategies.
4th ed. Bangkok: Chulalongkorn University.
Phat, W. (2017). Factors that affect the decision to consume clean food of the population in
Bangkok. Independent study, Master of Business Administration,
Graduate School, Bangkok University.
Preecha, K. (2010). Demand theory. Searched on 15 December 2019,
Retrieved from https://www.gotoknow.org.
Phuengpadung, B. (2008). Self-Health Care Behavior: A Case Study of Bangkok Area.
Thesis, Master of Sociology and Anthropology. Faculty of Sociology and Anthropology:
Thammasat University.
Panoppsri, W. (2007). Behavior of Consuming Health food of People in Lumlukka District of
Pathumthani Province. Thesis, Master of Business Administration,
Phranakhon Rajabhat University.
Rugmai, S. (2010). Documentation for research methods. MBA 482. Bangkok: Dusit Thani College.
Schlenker, E. and Gilbert, J. N. (2018). Williams' Essentials of Nutrition & Diet Therapy.
12th ed. The United States: Mosby
Smittikai, C. (2011). Consumer Behavior. Bangkok: Chulalongkorn University.
Sukhvibul, T. (2009). Considerations in the creation of estimation type tools (Rating-Scale). Searched on 12 December 2019. Retrieved from http://www.ms.src.ku.ac.th
Tiwsangvarn, S., Chantrapornchai, W. and Suwonsichon, T. (2011). Consumer Needs and Factors Affecting Consumer Buying Decision of Thai Male for Functional Drink. Proceedings of 49th Kasetsart University Annual Conference: Agro-Industry, Bangkok.
Thawee-Phon, S. (2007). People 's satisfaction with providing counseling services Special
Problems. Thesis, Master of Public Administration General Administration,
College of Public Administration, Burapa University.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper & Row.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and
control. (9th ed.). New Jersey: A Simon & Schuster Company.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.