แนวทางการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองสู่การยกระดับคุณภาพการบริการในท่าอากาศยานเมืองรอง เขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการท่าอากาศยานเมืองรอง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลปัจจัยการจัดการท่าอากาศยานที่มีผลต่อคุณภาพการบริการในท่าอากาศยานเมืองรอง 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองสู่การยกระดับคุณภาพการบริการในท่าอากาศยานเมืองรอง เขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานเมืองรองในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 402 คน ซึ่งมาจากการคำนวณโดยใช้วิธีการคำนวณบัญญัติไตรยางศ์ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยการจัดการท่าอากาศยานเมืองรอง ประกอบด้วย 6 ปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยด้านการรักษาความปลอดภัย ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยด้านการตรวจสอบ ปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงาน ปัจจัยด้านระบบขนส่งสาธารณะ และปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากรและพนักงาน ในส่วนของผลการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองที่มีผลต่อคุณภาพการบริการในท่าอากาศยานเมืองรอง ประกอบด้วยปัจจัย 2 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการการดำเนินงาน และปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากรและพนักงาน จึงสามารถนำเสนอแนวทางการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองสู่การยกระดับคุณภาพการบริการในท่าอากาศยานเมืองรอง เขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เป็น 2 แนวทางสำคัญ ได้แก่ แนวทางที่ 1 การยกระดับการจัดการการดำเนินงานในท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพ และแนวทางที่ 2 การมุ่งเน้นการบริหารจัดการศักยภาพของบุคลากรและพนักงานให้มีประสิทธิภาพ โดยผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถเป็นประโยชน์ได้ทั้งเชิงนโยบาย เชิงการจัดการ และเชิงวิชาการ ให้กับอุตสาหกรรมการบินและท่าอากาศยานเมืองรองของไทย รวมไปถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดการคุณภาพท่าอากาศยานเมืองรองได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในอนาคต
Article Details
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบและตารางประกอบที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบจะเป็นพระคุณยิ่ง
References
Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Danthamrongkun, Withaya. (2005). Customer Focus. Journal of Business Administration. Thammasat University, 28(108), 7-9.
Division of Economy, Tourism and Sports. (2017). Attitude and satisfaction of foreign tourists traveling to Thailand in 2017. Office of the Permanent Secretary Ministry of Tourism and Sports.
Kanchanawasri, Sirichai. (2012). Choosing the right statistics for research. (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kitrungruang, Chalermphol. (2010). Passenger’ Satisfactions Suvarnabhumi Airport’s Services Bangkok. (Office of Academic Resources And Information Technology).
Dhonburi Rajabhat University.
Naiyaphat, Onaiya. (2008). Quantitative and qualitative research methodologies in behavioral and social sciences. (3rd ed.), Bangkok: Samlada.
Panpram, Kanjana. (2016). Guidelines for service quality development of Donmueang Airport. Thesis (B.A. (Integrated tourism management)) National Institute of Development Administration.
Phromphong, Chittaphat. (2015). Factors influencing the satisfaction of the use of Suvarnabhumi Airport Services. Thammasat University.
Phuvaphatchaikit, Wirarat. (2016). Service Quality Factors Affecting Satisfaction of Thai Customers at Suvarnabhumi International Airport. (Master of Business
Administration Thesis). Bangkok University.
Phonphibun, Manot. (2013). Airport. Thai Encyclopedia for youth By the royal wishes of
His Majesty the King, Book 22. (11th ed.), 297. Bangkok. Thai Encyclopedia Project.
Raksaewkaew, Prakarn. & Monpanthong, Paitoon. (2019). Service quality of Phuket International Airport. Research and Development Journal. Loei Rajabhat University
Read, T. (2017). Geauga County Airport has kept small-town feel in post 9/11 era. In. Chicago.
Romig, S. (2015). Small-town economy fueled by high-elevation airport. ColoradoBiz, 42(4), 6-7.
Roohollah, K. (2017). Adaptation of Line Operations Safety Audit (LOSA) to Dispatch Operations (DOSA). Journal of Airline and Airport Management, 7(2), 59-62.
Sethasakdasiri, Sanhaant. (2018). Secondary City of New Hope in Thailand Tourism.
Thai Economic Projections 2018. (July 2018), 58-73.
Srisuk, Kiatisuda. (2009). Research methodology. Chiang Mai: Krongchang Press.
Suwanphongsai, Rathaporn. (2015). The Quality of the Administration of International Airport; a Strategy for Thailand. EAU Heritage Journal Science and Technology, 2(2), 44-57.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2013). Using Multivariate Statistics (6th ed.). Boston,
MA: Pearson.
Vongtharawat, Maytinee. (2017). Organizational culture affecting organizational effectiveness: The context of Southwest Airlines service provision. Veridian E-Journal.
Silpakorn University, 12(2). 973-985.
Wanitchbancha, Kanraya. (2016). Statistical analysis: statistics for administration and research. (16th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.