พฤติกรรม การรับรู้ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าและการใช้บริการ ตามกระแสเกาหลีนิยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า และการใช้บริการตามกระแสเกาหลีนิยม 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคที่ตามกระแสเกาหลีนิยม 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคตามกระแสเกาหลีนิยม 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อทัศนคติการใช้บริการตามกระแสเกาหลีนิยม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 402 คน อายุ13-26 ปี ในกรุงเทพมหานคร เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุระหว่าง 23-25 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท (2) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า และการใช้บริการตามกระแสเกาหลีนิยม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจในการใช้บริการสินค้าอุปโภค และบริโภคสินค้าตามกระแสเกาหลีนิยม มีการเลือกซื้อสินค้าตามกระแสเกาหลีนิยมผ่านช่องทางออนไลน์ มีงบประมาณในการซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าที่ระลึก และสื่อบันเทิงตามกระแสเกาหลีนิยม โดยเฉลี่ยต่อเดือน 501-1,000 บาท โดยมีเหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคตามกระแสเกาหลีนิยมเพราะความพึงพอใจส่วนบุคคล ซึ่งสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ผู้บริโภคนิยมซื้อตามกระแสเกาหลีนิยมมากที่สุดเกี่ยวข้องกับศิลปิน และของที่ระลึก ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักกระแสเกาหลีนิยมจาก อินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในการบริโภคสินค้า ส่วนใหญ่ คือ ศิลปิน ดารา (3) กลุ่มตัวอย่างสามารถรับรู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์สินค้าผ่านช่องทางทวิตเตอร์เป็นหลัก (4) ทัศนคติของผู้บริโภคตามกระแสเกาหลีนิยม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า ผู้บริโภคมีทัศนคติด้านเครื่องแต่งกายอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านเครื่องสำอาง และด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ (5) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า พฤติกรรมและการรับรู้ของผู้บริโภคตามกระแสเกาหลีนิยมแตกต่างกัน ทัศนคติต่อกระแสเกาหลีนิยมแตกต่างกัน มีพฤติกรรม การรับรู้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติการใช้บริการตามกระแสเกาหลีนิยมแตกต่างกัน
Article Details
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบและตารางประกอบที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบจะเป็นพระคุณยิ่ง
References
Kanya, S. (2009). General Psychology. Bangkok: Bamrungsann.
Korawin, K. (2015).Attitude, Knowledge, Understanding, Personality, and the Operation and use of Technology have all had an Influence in the Decision of Bangkokians whether to use an Automatic Telephone Payment Kiosk in 2015. Master of Business Administration. Bangkok University, Bangkok.
Piti, S. (2018). Lessons from the success of Korean popular culture. Retrieve October 19, 2019. From https://www.chula.ac.th/cuinside/6930/.
Papangkorn, P. (2013). Acceptance and Behavioral imitation of Korean culture from Korean entertainment media among Thai teenagers. Master of Art. Development Social Sciences. Kasetsart University. Bangkok.
Chayarn, L. (2013). The Study of Attitude, Perception and Behavior on Korean Trends. Master of Science. National Institute of Development Administration, Bangkok.
Chidchanok, T. (2013). Perception and Attitude Affecting Readiness entry into Asian Economic Community of Graduate Students at Srinakharinwirot University. Master of Business Administration. Srinakharinwirot University. Bangkok.
Chutima, K. (2010). Purchasing Behavior of fan clubs in Bangkok toward products related to Korea artist. Thai-Nichi Institute of Technology, Bangkok.
Salinya, N. (2009). Factors Affecting Customers’ Repurchase Intention of a Department Store in Rajprasong Area. Master of Business Administration. Srinakharinwirot University, Bangkok.
Schiffman, L.G., and Kanuk, L.L. (1994). Consumer Behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Storey, J. (2009). What is popular culture. Cultrure theory and popular culture: an introduvtion (5th ed.).Retrieve December 18, 2019. from https://uniteyouthdublin.files.wordpress.com/2015/01/john_storey_cultural_theory_and_popular_culturebookzz-org.pdf
Jirawat W. (1992) The effects of learning and study strategies on academic achievement. Assumption University, Bangkok.