การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจโฮมสเตย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สริกา นนทะสร
สรัญญา ศรีทองมาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจโฮมสเตย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนธุรกิจโฮมสเตย์ เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย จำนวน 3 แห่ง และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ จำนวน 415 คน


     ผลการศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่เป็นปัญหาและอุปสรรคมีผลกระทบต่อต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจโฮมสเตย์ทั้ง 3 แห่งจะเป็นในเรื่องการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มีค่าความพึงพอใจต่ำสุด โดยควรมีการส่งเสริมการขายผ่านสื่อเว็บไซต์ /แอพพลิเคชั่น มีส่วนลดราคาที่พักให้แก่ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการ และมีป้ายโฆษณาสถานที่พักผ่านหน่วยงานต่าง ๆ


     การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) โฮมสเตย์ไทรน้อย มีค่าเท่ากับ 27,364,695.08 บาท โฮมสเตย์เกาะเกิด มีค่าเท่ากับ 40,542,413.99 บาท โฮมสเตย์คลองรางจระเข้ มีค่าเท่ากับ 1,471,287.22 บาท การลงทุนของธุรกิจโฮมสเตย์ทั้ง 3 แห่ง ให้ค่า NPV มากกว่า 0 แสดงให้เห็นว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน อัตราผลตอบแทนภายในของกิจการ (IRR) พบว่า   โฮมสเตย์ไทรน้อย มีค่าเท่ากับร้อยละ 46.88 โฮมสเตย์เกาะเกิด มีค่าเท่ากับ  ร้อยละ 329.64 และโฮมสเตย์คลองรางจระเข้ มีค่าเท่ากับร้อยละ 33.66 ซึ่งทุกโฮมสเตย์มีค่ามากกว่าอัตราคิดลดที่กำหนดไว้คือร้อยละ 6.95 แสดงให้เห็นว่าโฮมสเตย์ทั้ง 3 แห่ง มีความคุ้มค่าในการลงทุน ในเรื่องระยะเวลาคืนทุน โฮมสเตย์คลองรางจระเข้ ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี 8 วัน โฮมสเตย์ไทรน้อย ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี 3 เดือน 15 วัน  และระยะเวลาในการคืนทุนของโฮมสเตย์เกาะเกิด  ใช้ระยะเวลาในการคืนทุนเร็วที่สุด คือ 6 เดือน 9 วัน ซึ่งระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างเร็วเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกต่ำแต่ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีสูงจึงส่งผลให้มีระยะเวลาคืนทุนเร็ว จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าโฮมสเตย์ทั้ง 3 แห่งมีผลตอบแทนมากกว่าต้นทุน ด้วยเหตุนี้ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนในธุรกิจโฮมสเตย์เป้าหมายจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 3 แห่ง

Article Details

How to Cite
นนทะสร ส. . ., & ศรีทองมาศ ส. . (2021). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจโฮมสเตย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 80–97. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/249335
บท
บทความวิจัย

References

Ayutthaya Tourism and Sports. (2017). Number and Income of Tourists in 2016. (online). Retrieved 19 December 2018 from https://ayutthaya.mots.go.th/more_graph.php.
(in Thai)
Chamnongrassamee, S., Kiratipongpaiboon, T., & Chumpanya, K. (2015). Thai Tourism Generates Income Thoroughly. Economic and Social Journal, 52 (1), 10-16. (in Thai)
Chinpaisan, T. (2013). Business Finance (29th ed.). Bangkok: Thanathud Press (in Thai)
Dechruang, S. (2020). Finance and Accounting for Hospitality Business. Dusit Thani College.
(in Thai)
Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports. (2012). Thailand Homestay Standard. Bangkok: Chula Press. (in Thai)
Euajiraphongphan, S., & Rojkurisathien, S. (2009). Primary Accounting. Bangkok: Publisher McGraw-Hill Printing. (in Thai)
Hair, J.F., Black, W. C, Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariable Data Analysis: a Global Perspective (7th ed.). New York: Pearson Education.
Karnhanawattana, L., Jabthaisong N., & Poowadin, P. (2012). The Analysis of Cost Benefit and Worthiness of Sustainable Home Stay Business Follow by the Economic Sufficiency Idea of Nakhonratchasima Province. Business Administration. Rajamangala University of Technology Isan. (in Thai)
Kasetsiri, C. (1997). Thai Way: Cultural Tourism. Bangkok: Withithat. (in Thai)
Potwatee, S. (2016). Business Finance (2nd ed.). Bangkok: Top Publishing Co., Ltd. (in Thai)
Preedasak, P. (2016). Principles of Microeconomics (4th ed.). Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)
Purichsuwan, R. (2007). Marketing Factors to Determination Customers Selection of Accommodation Home Stay in Nakhonratchasima. Master of Business Administration. Rajamangala University of Technology Isan. (in Thai)
Rodwanna, P. (2009). Cost Accounting Principles and Processes. Bangkok: Chula Press. (in Thai)
Srichai, N. (2008). Tourists Satisfaction with Services for Homestay Tourism in Amphawa District Samutsongkhram Province. Master Thesis, M.S. (Planning and Management Ecotourism). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University. (in Thai)
Suntornsaratul, P. (2009). The Msrketing Mix Factors Affecting Customers Decisions on Choosing Baan Pai Village Resort, Pai District, Maehongson. Master of Business Administration. Chandrakasem Rajabhat University. (in Thai)
Thapphan, Y. (2000). Project Evaluation according to Economic Guidelines (2nd ed.). Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)
Wanichbancha, K. (2006). Statistics for Research (2nd ed.). Bangkok: Chula Press. (in Thai)
Weingsamut, C., Ammarin, C., Phetkoe, P., Saetang, P., Kraidet, W., & Khunkaew, R. (2016). Cost and Return of Bungalow Businesses in Nakorn Si Tammarat. Faculty of Liberal Arts and Management Sciences Prince of Songkla University, Surat Thani Campus.
(in Thai)
Zounta, S., & Bekiaris, M. G. (2009). Cost-based management and decision making in Greek luxury hotels, 205-225.