ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทโปรตีนจากพืช ในรูปแบบอาหารแห้ง –ขนมขบเคี้ยวสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

Main Article Content

ศิรินุช เศรษฐพานิช
สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการตลาด ปัจจัยทางจิตวิทยา และความตั้งใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกประเภทโปรตีนจากพืช ในรูปแบบอาหารแห้ง–ขนมขบเคี้ยวของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลือกซื้อ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลือกซื้อ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขั้นตอนการศึกษานำร่องจำนวน 30 คน และการเก็บข้อมูลวิจัยหลัก จำนวน 200 คน ผ่านการเก็บแบบสอบถามด้วยตัวเองและการส่งแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การหาค่า t-test  F-Test การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า จากจำนวนตัวอย่าง 200 คน เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-69 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 37) เป็นเพศหญิงมากที่สุด (ร้อยละ 65) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 36.5) มีสมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันมากกว่า 3 คนขึ้นไป (ร้อยละ 39.5) และมีรายได้ในช่วง 55,001–70,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 24) จากสมมติฐานที่ 1) ข้อมูลด้านประชากรที่แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และรายได้ที่มีความแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อระดับความตั้งใจเลือกซื้อโปรตีนทางเลือกประเภทโปรตีนจากพืช ในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง-ขนมขบเคี้ยวที่แตกต่างกัน จากสมมติฐานที่ 2) ปัจจัยทางการตลาด 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกประเภทโปรตีนจากพืชในรูปแบบอาหารแห้ง–ขนมขบเคี้ยว ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และจากสมมติฐานที่ 3) ปัจจัยทางจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ รูปแบบการดำรงชีวิต ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจในการเลือก ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกประเภทโปรตีนจากพืชในรูปแบบอาหารแห้ง–ขนมขบเคี้ยว ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาจะถูกนำไปประยุกต์ เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chansarn, Supachet. (2012). Active Ageing of Thai Elderly People. The Demographic dividends and Thailand Economic Prospect In An Ageing Society School of Economics, Bangkok University, Journal of Humanities and Social Sciences, Srinakharinwirot.
Year 4th Edition 7th January–June, 2012.
Chongsathidwattana, Pisanu. (2007). Principle of Marketing, Thammasat Printing House, Bangkok, Thailand.
Chandamrong, Thitima. (2016). The Marketing Mix Factors Related to the Element of Decision to Study in Australia, A Minor Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Business Administration Prince of Songkhla University 2016
Department of Elderly Affairs Ministry of Social Development and Human Security. (2019). Elderly Statistics Report as of February 2019.
Eungwathanasakul, Ukrit. (2015). Household Beliefs and Attitudes, Environmental Concerns, Subjective Norms, and Self-identity Affecting Intention to Purchase Organic Food of Customers in Bangkok, Master of Business Administration, Bangkok University, Academic Year 2015.
Jacob Cohen. (1977). Statistic Power Analysis for the Behavioral Sciences, Department of Psychology, New York University, New York.
Kotler, Philip and Armstrong, Gray. (2009). Principle of Marketing, Edition 13th. Prentice Hall, 2009–Business and Economic.
Niramaitada, Narisara. (2016). A Study Of Marketing Psychological Factors Influencing The Buying Decision Of Condominium of buyer in Bangkapi district, Master of Engineer Thammasat University Academic Year 2016.
Phaisuwat, Siripat. (2015). Product Innovation Rice Functional Food for Elderly, Degree of Doctor of Philosophy in Technopreneurship and Innovation Management. Graduate School, Chulalongkorn University, Academic Year 2015.
Public Health and Environmental Strategy Division. (2018). Bangkok Elder Year to date Report
for December 2018 and December 2017, information from Civil Registration Department.


Sriugsorn, Thaweesin. (2008). Factor Affecting Food Consumption Behavior of Elderly
In Bangkok Metropolis. Thesis in Master Degree of Sciences Program In School of Sport Science, Chulalongkorn University, Academic Year 2008.
Soonthorn, Sitthiporn. (2019). Concepts and Paradigm in Sample Size with G*Power Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Mahasarakam University, Thailand.
Wattanaprajak, Kitpatiparn. (2013). Marketing Factors Considered in Focusing on Food Business for The Elderly Consumer. Academic Journal of Technology Thonburi
Vol. 14 July – December 2013.
Yonwikai, Wilasinee. (2014). A Study of Marketing Strategies That Affect Consumer Decision Making for Dietary Supplement Product for The Elder in Thailand. Thesis D.B.A in Business Admiration Naresuan University, 2014.
Yuenyongputtakal, Wichamanee. (2014). Development of Snack Product from Sea Lettuce (Ulva rigida)for School Children. Academic of Food Science, Faculty of Science. Burapha University, Trat Coastal Research and Development Center.