ความต้องการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19

Main Article Content

วสันต์ กานต์วรรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการต่อการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19                     2) เปรียบเทียบความต้องการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 หรือ 4 ในสถาบันอุดมศึกษาของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านทาง Google Form ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการต่อการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยรวม พบว่า นักศึกษามีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.140) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความมั่นคงในการทำงานและชีวิต ( = 4.62, S.D. = 0.393) รองลงมา คือ ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ( = 4.50, S.D. = 0.204)  และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( = 4.39, S.D. = 0.256)  และ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับระดับความต้องการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับผลการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานแตกต่างกัน มีความต้องการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แตกต่างกัน นอกนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กานต์วรรัตน์ ว. (2022). ความต้องการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มบุคคลที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 16(2), 114–127. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/262406
บท
บทความวิจัย

References

Banpato, P. (2019). Factors Affecting Decision-Making on Working in the Service Industry of Bachelor’s Degree Students Majoring in Hotel Management Studying in Bangkok and Suburban Areas. Master of Arts in Hospitality and Tourism Industry Management. Bangkok University.

Benjarongkrit, Y. (1999). Audience Analysis. Bangkok: T.P.Print Co.,Ltd.

Bruttos, N and Suekitinun, W. (2015). Decision Making for Career Selection, Motivation, and Advancement in Pretty MC Career. RMUTT Global Business and Economics Review. Vol.10 No. 1 (June 2015). page 121 – 132.

Chimkaew, T. (2019). Motivation Factors Influencing to Career Decision Making Process of Undergraduate Students in Ramkhamhaeng University. Master of Business Administration in Management. Ramkhamhaeng University.

Duangpakdee, A. (2007). Factors Influencing the Choice of Occupation of the Unemployed In Accordance with Social Security Act of B.E. 2533 in Bangkok Metropolitan, Region 1. Master of Labour and Welfare Development, Faculty of Social Administration, Thammasat University.

KaewKred, T. (2017). Career Decision Making of Private Enterprise Employees in Nakhon Pathom Province. Master of Business Administration. Bangkok University.

Koul, L. (1984). Methodology of Educational Research. New Delhi: Vani Education Book.

Ministry of Tourism and Sports. (2021). The Tourism Situation in Thailand and the Impact of COVID-19 on Thai Tourism. (online). Available: http://secretary.mots.go.th/2021/09/10.

Ministry of Tourism and Sports. (2019). Tourism Statistics. (online). Available: http://secretary.mots.go.th/2021/09/16.

Peanmunkung, N. (2016). The Factors Influence in Choosing of Student’s Career in Field of Aviation Management, Institute of Aviation Technology, Rajamangala University of Technology Tawan – Ok, Bangphra Campus. The 7th Hatyai National and International Conference on June 13, 2016 at Hatyai University. page 24 – 38.

Sereerat, S. (2011). Consumer Behavior. Bangkok: WisitPhattana Co.,Ltd.

Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office. (2021). Research Network for Higher Education in Lower Central Region of Thailand. (online). Available: http://www.thaiwest.su.ac.th/2021/10/9.

Suwannaphong, K. (2017). The Effects of Career Attitudes and Quality of Work Life on Service Performance of the Thai Airways International Public Company Limited’s Flight Attendants. Master of Science Program in Human Resource and Organization Development, the Graduate School of Human Resource Development, National Institute of Development Administration (NIDA).

Tourism Authority of Thailand. (2017). Internal Tourism Situation. (online). Available: http://kasikornresearch.com/th/2021/05/15.

Waisriseang, J. (2009). Factors Affecting Decision Making of Undergraduate Students in Public and Private University on Occupation Selection in Bangkok. Master of Arts in Social Development, the Graduate School of Social and Environmental Development .National Institute of Development Administration (NIDA)

Yih, C.M. (1992). A study of job satisfaction in Taiwan. Pennsylvania: The Pennsylvania State University.