แนวทางการขายห้องพักของโรงแรมในสถานการณ์ COVID-19 : กรณีศึกษาโรงแรมในเกาะสมุย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวของธุรกิจที่พักโรงแรมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการขายห้องพักสำหรับผู้ประกอบการของธุรกิจโรงแรมในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจที่พัก ตั้งแต่ระดับ 1 - 5 ดาว ที่เปิดให้บริการในช่วงเวลาของการระบาดจาก COVID-19 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2564
ผลการวิจัยพบว่า สถานประกอบการในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลายแห่งต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผลกระทบอย่างรุนแรงและมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบเป็นระยะเวลายาวนาน โรงแรมและที่พักหลายแห่งได้มีการปรับตัวผ่านการสร้างรายได้ในรูปแบบอื่นเพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินจากการบริการที่มีอยู่ ตือ 1) การปรับตัวของธุรกิจที่พักโรงแรมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 นอกเหนือจากการให้บริการภายใต้มาตรฐานด้านสุขอนามัยซึ่งเป็น New Normal ที่ทุกสถานประกอบการ ต้องรักษามาตรฐาน การเตรียมคนในองค์กรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการเน้นตลาดท่องเที่ยวในประเทศ ลดค่าใช้จ่าย และหารายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็สำคัญเช่นกัน เนื่องจากโรงแรมในเกาะสมุยในช่วงก่อนโควิด-19 รับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก แต่ต้องมีการปรับแผนการตลาดของโรงแรมเป็นรับนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยทดแทนเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ดังตัวอย่างบทสัมภาษณ์จากตัวแทนของผู้ประกอบการ 2) มีการปรับตัวด้าน
กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อลดค่าห้องพักลงจากเดิมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย ปรับรูปแบบการทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัล สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Instagram Line หรือแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และสิ่งสำคัญทางสถานประกอบการควรให้ความสำคัญกับความสะอาดเป็นอันดับแรก สื่อสารกับลูกค้าให้ทราบถึงการทำความสะอาดของโรงแรม และมาตรฐานการดูแลสุขลักษณะที่เหมาะสมในการให้บริการเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เข้าพักที่มาใช้บริการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบและตารางประกอบที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบจะเป็นพระคุณยิ่ง
References
G-E learning. (2019). Quality Service Management in Tourism and Hospitality. USA. 3G E-Learning.
Boonsiriphan, M. (2020). New Normal. (Online) Retrieved from https://news.thaipbs. or.th/content/292126 (in Thai).
Boonyasarn, D., & Totharong, C. (2020). Service Innovation and Value Creation in Hotel Business. NKRAFA Journal of Humanities and Social Sciences, 8, 62-75. (in Thai).
Daranee, A. & Santithorn, P. (2021). Crisis Response Strategies of Hotel Business in Bangkok During the COVID-19 Epidemic. Journal of Accountancy and Management, 13(4),82–97. (in Thai)
Dechtongkam, K. (2020). Importance of Service Quality to Tourism Business’s Success Under Covid-19 Situation. Journal of Sports Science and Health, 21(3), (September-December 2020). (in Thai).
Erickson, G. M., & Johansson, J. K. (1985). The role of price in multi-attribute product evaluations. Journal of Consumer Research, 12(2), 195-199.
Kim, H.W., Xu, Y., & Gupta, S. (2012). Which is more important in Internet shopping, perceived price or trust? Electronic Commerce Research and Applications, 11(3),241-252.
Lai, I.K.W. and Wong, J.W.C. (2020). Comparing crisis management practices in the hotel industry between initial and pandemic stages of COVID-19. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 32(10), 3135-3156.
Lien, C.H., Wen, M.J., Huang, L.C., & Wu, K.L. (2015). Online hotel booking: The effects of brand image, price, trust and value on purchase intentions, Asia Pacific Management Review, 20(4), pp. 210-218.
Panuwat, S. & Umaporn, M. (2021). Adaptation of Thai Boxing Camps Entrepreneurs’ amid The Covid-19 Pandemic in Phuket Province. Journal of International and Thai Tourism, 17(1), 164-181. (in Thai).
Putra, Qausar & Jiwa, Zeplin & Sitepu, Rismawati & Singh, Sanju. (2020). The Impact of Marketing Mix on the Consumer Purchase Decision in the Surabaya - Indonesia Hotel Residence. SHS Web of Conferences, 76
Siam Commercial Bank. (2020). tips-for-you solve-business-during-covid. (online) Retrieved May 30, 2021, from https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/solve-business-during-covid.html (in Thai).
Thairatonline. (2564). The party cluster "Samui" Room Cancellation. (online) Retrieved July 31, 2021, from https://www.thairath.co.th/news/local/south/2154295
Thampramuan, P. (2020). Service Marketing. BKK: P.A. Living. (in Thai).
Van Ark, B., Broersma, L. & den Hertog, P. (2003). "Services Innovation, Performance and Policy: A review: on the soft side of innovation: Services innovation and its policy implications. Economist, 151(4), 433.
World Health Organization. (2020). Infections around the world. (online) Retrieved December 30, 2020, from https://www.who.int/