ความรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน

Main Article Content

ประภัสสร สกุลด่านทอง
ศิริพงศ์ รักใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ในการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหาร
วีแกน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน 3) เพื่อศึกษาความความคาดหวังในการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบที การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่มีความรู้เกี่ยวกับขนมหวานวีแกนด้านอรรถประโยชน์และความรู้สึกมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมากและในทิศทางตรงกันข้ามกับความคาดหวังที่มีต่อการบริโภคขนมหวานวีแกน ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภคที่มีความรู้ในด้านอรรถประโยชน์และความรู้สึกเกี่ยวกับขนมวีแกนมีมากขึ้นจะมีความคาดหวังต่อการบริโภคจะลดลง ทั้งนี้เนื่องมาจาก ผู้บริโภคทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติของขนมวีแกนนั้นเป็นขนม ขนมวีแกนไม่มีส่วนผสมเกี่ยวกับสัตว์ ขนมวีแกนใช้ไขมันจากพืชเป็นส่วนผสม ส่วนในด้านการตลาดผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับขนมวีแกนมีรสชาติที่สามารถทนแทนขนมทั่วไปได้ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความคาดหวังในการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับขนมหวานวีแกนโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน อธิบายได้ว่า ผู้บริโภคที่มีความรู้และความเข้าใจในส่วนประกอบและประโยชน์ของอาหารวีแกนนั้นย่อมมีความคาดหวังจากการรับประทานอาหารประเภทนี้โดยคุณสมบัติที่โดดเด่นคือไม่มีไขมันของสัตว์ในอาหารและเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่เกิดไขมันสะสม รูปร่างสมส่วน เป็นต้น


ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคขนมหวานวีแกนของผู้บริโภคอาหารวีแกน เพื่อต้องการลดน้ำหนัก มีค่าใช้จ่าย 501 – 750 บาท ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขนมวีแกนจากอินเทอร์เน็ต (Internet)/สื่อออนไลน์ และความถี่ในการบริโภคขนมวีแกนบ่อย (4-5 วัน/สัปดาห์) แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้บริโภคอาหารวีแกนเป็นกลุ่มคนยุคใหม่ใส่ใจกับสุขภาพโดยหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลรูปร่างให้มีอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทนี้ได้ง่ายดายจากสื่อออนไลน์และปัจจุบันมีคนหันมารับประทานอาหารวีแกนเพิ่มมากขึ้น


          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคาดหวังของผู้บริโภคอาหารวีแกนแตกต่างกันตามคุณลักษณะประชากร จำแนกตาม อายุ และสถานภาพที่แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความคาดหวังของผู้บริโภคอาหารวีแกนแตกต่างกันตามพฤติกรรมการบริโภค จำแนกตาม จุดประสงค์การบริโภคขนมหวานวีแกน ค่าใช้จ่ายการบริโภคขนมหวานวีแกน ช่องทางการรับข่าวสารเกี่ยวกับขนมหวานวีแกน และความถี่ในการบริโภคที่ไม่แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

How to Cite
สกุลด่านทอง ป., & รักใหม่ ศ. . (2022). ความรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการบริโภคขนมหวานของผู้บริโภคอาหารวีแกน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 16(2), 173–186. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/263132
บท
บทความวิจัย

References

Anchalee Dan Wirunhanit. (2016). Parental Expectations on Deaf Children's Participation in Social Activities: A Case Study of Deaf Schools in Bangkok. Master of Social Work Degree Thesis Faculty of Social Work Thammasat University.

Chisanukorn Phornphanuwit. (2007). People's expectations of sub-district management organization role in local natural resource management: a study of Phrae province. Thesis M.E.A. (Environment), Mahidol University.

Clay, R. (1988). Chambers English Dictionary. Great Britain: bunay Suffolk.

Courtney N. (et al.). (2019). “The role of social identity motivation in dietary attitudes and behaviors among vegetarians”. Appetite. 141: 104-307.

Dcleanfood. (2015). The birth of vegetarianism. Retrieved 13 July 2021. From https://medium.com

Kotter, J.P. (1997). On what leaders, really do: Harvard business review book. Boston: Harvard Business School.

Kumar, N. and Kapoor, S. (2015), "Does the consumers’ buying behavior differ for vegetarian and non-vegetarian food products? Evidences from an emerging market", British Food Journal. 117(8): 1998-2016.

Naiyana Suthin. (2012). Vegetarian Food Consumption Behavior of Consumers in Bangkok. Master of Business Administration Thesis (Marketing major), Srinakharinwirot University.

Pitchayaphan Wongsuwan. (2020). Consumption behavior. and deciding factors for vegetarian and vegan diet Sold through online channels. Thesis, Master of Communication Arts, Sripatum University Chonburi Campus.

Siriwan Sereerat. (2013). Consumer Behavior. Bangkok: Pattanasuksa.

Supanya Chaichan. (2014). Principles of marketing. Bangkok: Odeon Store

Suwat Sirinirun & Phawana Suanplu. (2016). Consumer Behavior. Retrieved 13 July 2021. From https://doctemple.wordpress.com/2017/01/23

Thanyalak Thammajak. (2017). “Vegan food consumption behavior in Muang district, Trang province.” WMS Journal of Management Walailak University. 8(1): 84-97.

WangNoi. (2018). Vegetarianism. Retrieved 13 July 2021. From http://wangnoi.com/