อิทธิพลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่แท้จริง ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทขนส่งโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Main Article Content

ณิชากร ชัยวิศิษฐ์
อมราพร สุรการ
ชัยยุทธ กลีบบัว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่แท้จริง ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทขนส่งโลจิสติกส์เอกชนแห่งหนึ่ง โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และเก็บข้อมูลผ่านการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทขนส่งโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง ที่เป็นพนักงานประจำ รวม 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 𝑥2= 38.20, df = 31, 𝑥2/df = 1.23, P-Value = 0.18, RMSEA = 0.04, CFI = 1.00, TLI = 0.99, SRMR = 0.03 และตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความผันแปรของผลการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 29 ทั้งยังพบว่า ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลโดยรวมต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b=0.44, p<0.05) โดยมีอิทธิพลทางตรงทิศทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b=0.34, p<0.05) และภาวะผู้นำที่แท้จริงมีอิทธิพลทางอ้อม ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในทิศทางบวก ผ่านทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b=0.10, p<0.05) โดยอิทธิพลทางอ้อมที่เกิดขึ้น พบว่าภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บังคับบัญชา มีอิทธิพทางบวกต่อทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b=0.33, p<0.05) และทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b=0.31, p<0.05) แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บังคับบัญชาและทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพนักงานต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งผลจากการวิจัยนีสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำที่แท้จริง และทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพนักงานบริษัทขนส่งโลจิสติกส์นำไปสู่การเพิ่มผลปฏิบัติงานของพนักงานได้

Article Details

How to Cite
ชัยวิศิษฐ์ ณ. ., สุรการ อ. ., & กลีบบัว ช. . (2022). อิทธิพลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่แท้จริง ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทขนส่งโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 16(3), 122–137. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/264510
บท
บทความวิจัย

References

Banks, G. C., McCauley, K. D., Gardner, W. L., & Guler, C. E. (2016). A meta-analytic review of authentic and transformational leadership: A test for redundancy. The leadership quarterly, 27(4), 634-652.

Daraba, D., Wirawan, H., Salam, R., & Faisal, M. (2021). Working from home during the corona pandemic: Investigating the role of authentic leadership, psychological

Emmett, J., Schrah, G., Schrimper, M., & Wood, A. (2020). COVID-19 and the employee experience: How leaders can seize the moment. Organization Practice. June. Mckinsey & Company.

Ilies, R., Morgeson, F. P., & Nahrgang, J. D. (2005). Authentic leadership and eudaemonic well-being: Understanding leader–follower outcomes. The leadership quarterly, 16(3), 373-394.

Intelligence, T. (2021). Total Logistics 2021. Retrieved from https://www.ti-insight.com/product/total-logistics/

Jang, E (2022). Authentic Leadership and Task Performance via Psychological Capital: The Moderated Mediation Role of Performance Pressure. Front. Psychol. 13:722214. doi: 10.3389/fpsyg.2022.722214

Kong, F., Tsai, C.-H., Tsai, F.-S., Huang, W., la Cruz, D., & Malapitan, S. (2018). Psychological capital research: A meta-analysis and implications for management sustainability.Sustainability, 10(10), 3457.

Koopmans, L., Bernaards, C., Hildebrandt, V., van Buuren, S., Van der Beek, A. J., & de Vet, H. C. (2013). Development of an individual work performance questionnaire. International journal of productivity and performance management.

Luthans, F., & Youssef, C. M. (2004). Human, social, and now positive psychological capital management: Investing in people for competitive advantage. Organizational Dynamics, 33(2), 143-160.

Luthans, F., Youssef, C. M., & Avolio, B. J. (2007). Psychological capital: Developing the human competitive edge (Vol. 198): Oxford University Press Oxford.

Malik, N. (2018), "Authentic leadership – an antecedent for contextual performance of Indian nurses", Personnel Review, 47(6), 1244-1260.

Motowildo, S. J., Borman, W. C., & Schmit, M. J. (1997). A theory of individual differences in task and contextual performance. Human performance, 10(2), 71-83.

Nafei, W. (2015). The effects of psychological capital on employee attitudes and employee performance: A study on teaching hospitals in Egypt. International Journal of Business and Management, 10(3), 249-270.

Ribeiro, N., Gomes, D., & Kurian, S. (2018). Authentic leadership and performance: the mediating role of employees’ affective commitment. Social Responsibility Journal.

Sapyaprapa, S., Tuicomepee, A., & Watakakosol, R. (2013). Validation of psychological capital questionnaire in Thai employees. In Proceedings of the Asian Conference on Psychology and the Behavioral Sciences. Japan.

Walumbwa, F. O., Avolio, B. J., Gardner, W. L., Wernsing, T. S., & Peterson, S. J. (2008). Authentic leadership: Development and validation of a theory-based measure. Journal of management, 34(1), 89-126.

Wang, J., & Wang, X. (2019). Structural equation modeling: Applications using Mplus: John Wiley & Sons.

Krungsri Research. (2021). Thailand Industry Outlook 2021-2023. Retrieved from https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-summary-outlook-2021-2023