ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: (ปัตตานี – ยะลา – นราธิวาส)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมเพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: (ปัตตานี-ยะลา – นราธิวาส) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 264 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ส่งผลกระทบทางตรงเชิงบวกต่อแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ .195 ปัจจัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ส่งผลกระทบทางตรงเชิงบวกต่อแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ .285 และปัจจัยอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมส่งผลกระทบทางตรงเชิงบวกต่อแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ .459 จึงยอมรับสมมติฐานทั้ง 3 สมสมติฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบและตารางประกอบที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบจะเป็นพระคุณยิ่ง
References
Chanawut, C. (2018). Street Art Value for Creative Economy. DRIRDI Research for Community Service Journal, 4(1), 44-58.
Jordan, P. E. T. E. R. (2005). The concept of the cultural region and the importance of coincidence between administrative and cultural regions. Romanian Review of Regional Studies, 1, 13-18.
Kostopoulou, S., Sofianou, P. K., & Tsiokanos, K. (2021). Silk road heritage branding and polycentric tourism development. Sustainability, 13(4), 1893.
Mommas, H. (2003). City branding. Rotterdam: NAI Publishers.
OCDI (2019). Progression of Development 3 Southern Border Provinces: Pattani - Yala – Narathiwat
Ritchie, R. J., Swami, S., & Weinberg, C. B. (1999). A brand-new world for nonprofits. International Journal of Nonprofit and Voluntary Sector Marketing, 4(1), 26-42.
Rintanalert, C., Srison, W., & Chayayanon, S. (2021). Co-Operation Model in Gem and Jewelry Industrial Development in ASEAN Group of Countries A Case Study of Thai-Cambodia. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 15(3), 132-142.
Srisuwanaket, T. (2016). Create a 'national brand', a trade strategy that Thailand must go on. Retrieved from https://tdri.or.th/2016/12/biz-2016-12-29/
Tharaporn, A., & Pongponrat, K. (2021). A study of cultural capital for promote the creative economy tourism case study of HOLEN’s Souvenir. Humanity and Social Science Journal, 27(2), 152-163.