การประยุกต์เทคโนโลยี Spatial Metaverse ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่อง วิวัฒนาการละครไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกวงฮั้ว จังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2566

Main Article Content

ธนดล นิสัยมั่น
ชมนาด กิจขันธ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องการประยุกต์เทคโนโลยี Spatial Metaverse ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกวงฮั้ว จังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2566 มีวัตถุประสงค์คือ 1) ประยุกต์เทคโนโลยี Spatial Metaverse นำมาใช้ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของห้องเรียนที่เรียนในรูปแบบปกติ และห้องที่เรียนด้วยเทคโนโลยี Spatial Metaverse ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในรูปแบบเทคโนโลยี Spatial Metaverse ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกวงฮั้ว จังหวัดระยอง จำนวน 63 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 34 คน และกลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) เทคโนโลยี Spatial Metaverse ที่ผู้วิจัยนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย เป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในรูปแบบเทคโนโลยี Spatial Metaverse ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test


     ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์เทคโนโลยี Spatial Metaverse นำมาใช้ในรายวิชานาฏศิลป์เรื่องวิวัฒนาการละครไทย มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.81 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของห้องเรียนที่เรียนในรูปแบบปกติ และกลุ่มห้องที่เรียนด้วยเทคโนโลยี Spatial Metaverse พบว่าห้องที่เรียนด้วยเทคโนโลยี Spatial Metaverse มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าห้องที่เรียนในรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในรูปแบบเทคโนโลยี Spatial Metaverse ในรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการละครไทย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.6 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.45

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ณัฐนนท์ เกษตรเอี่ยม. (2565). เรื่องการพัฒนาบทเรียนออนไลน์รูปแบบจักรวาลนฤมิตร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning รายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณรงค์พล เอื้อไพจิตรกุล. (2564). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนจริงในบรอบทการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมความสามารถการออกแบบแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการไอซีทีของนักศึกษาครู. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hyeonju L., Donghyum W., Sunjin Y. (2022). Virtual Reality Metaverse System Supplementing Remote Education Methods : Based on Aircraft Maintenance simulation. Retrieved from https://golink.icu/RYwigN7.