การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาการขัดแย้งทางความคิดตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สุรางค์รักษ์ ตันทา

คำสำคัญ:

พุทธปรัชญาเถรวาท, การขัดแย้งทางความคิด, การแก้ปัญหาการขัดแย้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายของความขัดแย้งตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความหมายของความคิดตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาท

                ผลการวิจัยพบว่า การขัดแย้ง หมายถึง การไม่ลงรอยกัน การทะเลาะเบาะแว้ง เป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนในโลก ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าความขัดแย้งคือทุกข์ชนิดหนึ่ง เป็นสภาวะที่บีบคั้นที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุปัจจัยสำคัญที่สุด ทำให้เกิดความขัดแย้งก็คือ มโนกรรม เป็นตัวกำหนดกายกรรมและวจีกรรมที่จะเกิดขึ้น มโนกรรมที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็คือ ทิฏฐิ ซึ่งหมายถึง ความเห็น ความคิดหรือทรรศนะ ในพรหมชาลสูตรนั้นได้รวบรวมทรรศนะต่างๆ ไว้เรียกว่า ทิฏฐิ 62 ซึ่งเป็นทรรศนะทางปรัชญาของลัทธิต่างๆ ที่อยู่ในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า ทรรศนะเหล่านี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ  ซึ่งวิธีปฏิบัติที่จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นไปจากมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายก็คือ ไตรสิกขา เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิที่จะทำให้เห็นและเข้าใจความจริงแท้ของสรรพสิ่ง ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้เกิดปัญญา เกิดสัมมาทิฏฐิก็คือ โยนิโสมนสิการ หรือการคิดอย่างถูกวิธี เป็นขั้นตอนอย่างครบถ้วนทุกด้าน เมื่อปัญญาเกิด มิจฉาทิฏฐิอันเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง ของความทุกข์ทั้งหลายก็หมดลงไปได้

References

ฐานิสรา ประธานราษฎร์นิกร. (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอัพยากตปัญหา (ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนา, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุณย์ นิลเกษ. (2542). พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน เล่มที่เก้า พระสุตตันตปิฎก เล่มที่หนึ่ง สีลขันธวรรค ทิฆนิกาย. เชียงใหม่: บี.เอส.การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สลายความขัดแย้ง นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2547). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาวิเคราะห์ กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พันธ์ทิพย์ ทิพย์ประพันธ์. (2550). วิเคราะห์ดุษณียภาพของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับอัพยากตปัญหา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟื้น ดอกบัว. (2545). ปวงปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: ศยาม.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). เอกสารการสอนชุดวิชา ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: แสงจันทร์การพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชันส์.

สุนทร ณ รังษี. (2545). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ หงษา. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ศยาม.

สยาม ใจมาคำ. (2551). การวิเคราะห์สัมมาทิฏฐิในพุทธศาสนาเถรวาท. การค้นคว้าแบบอิสระ, สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุรุท กิ่งเนตร. (2556). การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทตามแนวทางพุทธศาสนา. ผลงานส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการอบรม, หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 11, สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29