แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม อำเภอเมืองเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ, การเรียนการสอนว่ายน้ำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนโรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 353 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประมาณค่าเฉลี่ยประชากร
ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาการดำเนินงานกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
สำหรับแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จากการ Focus group 3 ลำดับแรก คือ 1) เปิดใช้ให้บริการทั้ง 2 ภาคเรียน ในภาคเรียนที่ 2 นักเรียนทุกระดับชั้นตั้งแต่ ม.1 - ม.6 จะต้องมาเรียนว่ายน้ำเดือนละ1ครั้งของคาบวิชาพลศึกษา 2) บริหารจัดการเรื่องของเวลาการเรียนการสอน 50 นาที่ให้ทัน 3) ควรเพิ่มแบบฝึกและใช้แบบฝึกที่หลากหลาย
References
กรรณิกา สมเพชร. (2553). กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมลูกเสือเอกแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนอนุบาลห้วยสัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. เชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อุเทน ปัญโญ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ