A กลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ห้องสมุด, ห้องสมุดโรงเรียน, การบริหารจัดการห้องสมุดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการประเมินการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนจอมทองตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนและสร้างกลยุทธ์ในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากผู้บริหารและครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนจอมทอง จำนวน 123 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 322 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประมาณค่าเฉลี่ยประชากร
ผลการวิจัยพบว่าผลการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนจอมทอง ตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2556 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้บริหาร ด้านอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ ด้านนักเรียน ด้านครู ครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด และด้านทรัพยากรสารสนเทศในระดับมาก ส่วนผลการดำเนินงานห้องสมุดของโรงเรียนจอมทอง โดยผู้เรียน ด้านครู ครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับ ด้านผู้บริหาร ด้านนักเรียนด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ในระดับปานกลาง และปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานห้องสมุดของโรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ด้านผู้บริหารพบว่าการบริหารงานด้านงบประมาณในห้องสมุดเพื่อจัดซื้อหนังสือหรือปรับปรุงให้ห้องสมุดมีความทันสมัยยังมีน้อย ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาห้องสมุดให้เป็นสากลและมีความทันสมัยให้มากขึ้น ในด้านครู ครูบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด พบว่า ควรให้ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านอย่างหลากหลายเชิงรุกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างถูกต้อง ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ข้อเสนอแนะคือ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ส่วนด้านทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า การจัดหนังสือบนชั้นไม่เป็นระเบียบ ค้นหายาก ใช้เวลานาน ข้อเสนอแนะคือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและยุวบรรณารักษ์ ควรหมั่นตรวจสอบชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ และด้านอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ พบว่า ชั้นหนังสือมีสภาพเก่า ไม่ดึงดูดความสนใจ ข้อเสนอแนะคือ ควรพัฒนาชั้นหนังสือให้ดึงดูดความสนใจและมีความทันสมัยให้มากขึ้น
ผลจากการการประชุม (Workshop) ของคณะกรรมการงานห้องสมุดเพื่อร่างกลยุทธ์ดำเนินการห้องสมุดโรงเรียนจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรายละเอียด คือ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการห้องสมุดโรงเรียนจอมทอง 2) ส่งเสริมนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและ 3) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการห้องสมุดโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภิญญาพัชญ์ การิยา. (2556). การประเมินการดำเนินงานห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อุเทน ปัญโญ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
อุดม ตันประยูร. (2554). การบริหารจัดการคุณภาพของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนสองพิทยาคม อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ