การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
แผนการจัดการเรียนรู้, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรปบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ จำนวน 24 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดโดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) จำนวน 8 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการฟัง-พูดทางภาษา จำนวน 25 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 76.98/76.45 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสารตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.45
References
ปัญญากร ปานภู่. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การฟังภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโฆษิตวาทยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
รมัยาภรณ์ สุขเกษม. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นการฟัง-พูดและการเสริมแรงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วณิชา ราชโยธา. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้การสอนแบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วีร์ ระวัง. (2555). กระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในฐานะภาษาต่างประเทศสำรับคนไทย. เข้าถึงได้จาก http://neric-club.com/data.php?page=63&menu_id=76
สิริกร ประสพสุข. (2555). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมภาษาอังกฤษสำหรับครูระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2550). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา : กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อประชาชนพิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโรตารีแห่งประเทศไทย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ