การบริหารจัดการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการศึกษา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การพัฒนาเด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลในการหาวิธีบริหารจัดการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบ PDCA ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนวัดเกตมีผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 4 ท่าน ที่ได้รับการยืนยันจากชุมชนว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถจริง จากข้อมูลที่ได้มาประชุมผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อใช้เป็นฐานในการพัฒนาเป็นคู่มือสำหรับการบริหารจัดการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นชอบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20 , S.D. = 0.75) หลังจากที่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ตามเนื้อหาคู่มือ นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ซึ่งผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44 , S.D. = 0.63) โดยปัญหาที่พบ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่ยังขาดการสำรวจแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลวัดเกต ซึ่งเป็นตำบลที่สถานศึกษาตั้งอยู่ให้เป็นปัจจุบัน รวมไปถึงการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษายังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.
วาสนา เลื่อมเงิน. (2550). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านแพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ