กลยุทธ์การพูดโน้มน้าวของตัวละครในนวนิยาย เส้นไหมสีเงิน ของ ว.วินิจฉัยกุล

ผู้แต่ง

  • ประภาพร pumpim ธนกิตติเกษม 0932397923

คำสำคัญ:

การพูดโน้มน้าวของตัวละคร, เส้นไหมสีเงิน, ว.วินิจฉัยกุล, กลยุทธ์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์กลยุทธ์การพูดโน้มน้าวของตัวละครในนวนิยายเรื่อง เส้นไหมสีเงิน ของ ว.วินิจฉัยกุล วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบหลักการพูดโน้มน้าวใจของตัวละคร ดังนี้ 1.การจำแนกตัวละครในบริบทการเจรจาโน้มน้าว 2.กลยุทธ์การพูดโน้มน้าวของตัวละคร 3.กระบวนการเจรจาโน้มน้าวใจ โดยศึกษาจากนวนิยายเรื่อง เส้นไหมสีเงิน และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าแบบพรรณนาวิเคราะห์

          จากการศึกษาการจำแนกตัวละครในบริบทการเจรจาโน้มน้าว พบว่าตัวละครผู้โน้มน้าวและผู้ถูกโน้มน้าวเป็นได้ทั้งตัวละครหลัก ตัวละครรอง และตัวละครประกอบ เป็นได้ทั้งตัวละครหญิงและชาย ผู้โน้มน้าวพบมากที่สุดคือตัวละครหลัก ส่วนกลยุทธ์การพูดโน้มน้าวของตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง มีจำนวน 6 แบบ ดังนี้ 1. การให้ความสำคัญผู้ฟัง 2. การอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ฟัง 3. การอ้างอิงข้อเท็จจริง  4. การสร้างความพึงพอใจ 5. ภาษามีพลัง 6. การยกตัวอย่างเหตุการณ์

Author Biography

ประภาพร pumpim ธนกิตติเกษม, 0932397923

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

References

จันทิมา พรหมโชติกุล. (2530). วาทการ. กรุงเทพฯ: งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริการ การศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2541). สุนทรียภาพในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศยาม.

นันทา ทองทวีวัฒนะ. (2557). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในบทโฆษณาในอนุสาร อ.ส.ท. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ปัณณวรรณ วาจางาม. (2548). ลีลาภาษาในนวนิยาย ของ ว.วินิจฉัยกุล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร).

รัญจวน อินทรกำแหง. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่

ว.วินิจฉัยกุล. (2554). เส้นไหมสีเงิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พทรีบีส์.

วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2552). รูปภาษาที่ใช้อ้างถึงตัวแสดงบทบาทในวรรณคดีร้อยกรองของไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนะวิเคราะห์ : การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความ. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยามหิดล.

สมพร มันตะสูตร. (2540). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-06