เปรียบเทียบการอธิบายจิตปภัสสรในพระไตรปิฎก อรรถกถา และนักวิชาการพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
จิตประภัสสร, พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
คำว่า จิต ตามรูปศัพท์ หมายถึง ธรรมชาติที่คิด คือ รับรู้อารมณ์ โดยคุณลักษณะ จิตมีความผ่องใส ที่เรียกว่า “จิตประภัสสร” ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท จิตประภัสสร หมายถึง จิตที่ผุดผ่อง หรือ มีรัศมีอันซ่านออกมา เปรียบเหมือนน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแสงไฟที่ส่องสว่าง แต่สภาวะที่จิตผ่องใสตามธรรมชาตินี้ ยังไม่บริสุทธิ์ ปราศจากอนุสัยกิเลสที่เป็นมลทินละเอียด ตกตะกอนนอนเนื่องในสันดาน ถ้าหากเป็นจิตที่บริสุทธิ์แท้ ก็ไม่ขุ่นมัวหรือกระเพื่อมไหว เพราะถูกกระตุ้นด้วยพลังอุปกิเลส อันที่จริง จิตประภัสสร เป็นจิตปกติเมื่ออยู่ในสภาวะนิ่งไม่แกว่งไกว ก็ยังรักษาความใสเอาไว้ขณะที่ยังมีสารแขวนลอย (อนุสัย) นอนตกตะกอนในชั้นล่าง แต่เมื่อจิตถูกอุปกิเลสเข้ามารบกวน กระตุ้นทำให้เสียสภาวะนิ่ง ดวงจิตก็ขุ่นมัวเศร้าหมองด้วยอนุสัยที่ฟุ้งขึ้นมาและด้วยอุปกิเลสที่เข้ามาแปดเปื้อนด้วยลักษณะสภาวะจิตเป็นเช่นนี้ จิตประภัสสรก็คือภวังคจิต ถึงจะมีความบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ แต่พอถูกกิเลสที่จรเข้ามากระตุ้นก็จะเศร้าหมองไป เปรียบเหมือนมารดาบิดา หรืออุปัชฌาย์และอาจารย์ ซึ่งเป็นที่ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระและความประพฤติ แต่กลับมาได้ความเสื่อมเสียชื่อเสียง เพราะการกระทำที่ไม่ดีของบุตรสัทธิวิหาริก และ อันเตวาสิก บริวารรอบตัว เมื่อจิตเศร้าหมองต้องอบรมจิตด้วยสติปัฏฐาน 4 จิตประภัสสรก็จะเป็นกุศลญาณสัมปยุตจิต สามารถพัฒนาไปเป็นมรรคจิต ผลจิตจิต กำจัดกิเลสทุกชนิดมีสภาพบริสุทธิ์สะอาด เป็นจิตของพระอริยะต่อไป
References
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). ตามรอยธรรมครบ 50 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมิก.
พุทธทาสภิกขุ. (2550). จิตนี้ประภัสสร. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
สมภาร พรมทา. (2546). พุทธศาสนานิกายเซนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ