พระกริ่ง

ผู้แต่ง

  • สุรวุฒิ แสงมะโน อาจารย์สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

พระกริ่ง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและประวัติความเป็นมาของพระกริ่ง 2) เพื่อศึกษาพุทธลักษณะของพระกริ่ง 3) เพื่อศึกษาอานุภาพของพระกริ่ง ผลการศึกษาพบว่า พระกริ่งหมายถึง คำที่ใช้เรียกพระเครื่องที่ทำด้วยโลหะ ภายในกลวง บรรจุก้อนโลหะซึ่งเขียนอักขระไว้ เขย่าแล้วมีเสียงดัง โดยมีจุดเริ่มต้นการสร้างพระกริ่งขึ้นที่ทิเบตเป็นแห่งแรก และได้เผยแผ่ความเชื่อเหล่านั้นเข้าสู่ประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย ราว พ.ศ. 1158 เข้าสู่ประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยกษัตริย์ชัยวรมันที่ 7 ซึ่งได้พบพระกริ่งที่อโรคยศาลา ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พุทธลักษณะของพระกริ่งในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น ทิเบต จีน กัมพูชา และไทย ได้อาศัยต้นแบบศิลปะแบบปาละของอินเดีย แต่ผู้สร้างในแต่ละประเทศได้ดัดแปลงให้แตกต่างกันไปตามศิลปกรรมในประเทศของตน  พระกริ่งนั้นเป็นพระที่หาได้ยาก เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศ

Author Biography

สุรวุฒิ แสงมะโน, อาจารย์สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

พระครูปลัดสุรวุฒฺิ แสงมะโน

สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและปรัชญา

คณะศาสนาและปรัชญา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2546). ภาษาไทย 5 นาที ชุดที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิจำนง ทองประเสริฐ.

ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2525). ประวัติและผลงานสำคัญของสมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ : ผู้ประทานกำเนิดพระกริ่งไทย. กรุงเทพ: รุ่งเรืองสาส์น.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2469). ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2479). นิราศนครวัด. พระนคร: โสภณพิรรฒธนากร.

ธัมมนันทาภิกษุณี. (2549). พระพุทธเจ้าผู้ยาใจ. สืบค้น 4 เมษายน 2563, จากhttp://www.thaibhikkhunis.org/

index.php?option=com_=8

ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย.

พ. สุวรรณ. (2540). ประวัติความเป็นมาพระไพรีพินาศ. กรุงเทพฯ: แสงดาว-สร้อยทอง.

พินัย ศักดิ์เสนีย์. (2511). นามานุกรมพระเครื่อง. กรุงเทพฯ: ผดุงศึกษา.

ภุชชงค์ จันทวิช. (2528). พระมาลาเบี่ยงเลี่ยงสมัย. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 6(9), 42-43.

มอนต์ จันทนากร. (2527). ทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นครช่าง.

มาลินี คัมภีรญาณนนท์. (2542). ประวัติศาสตร์จีน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูลนิธิวัดบวรนิเวศวิหาร. (2539). พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สมคิด ศรีสิงห์. (2543). ตำนานพระกริ่งนเรศวร. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.].

สมาคมสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม. (2546). พระกริ่งคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2539). ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

เสฐียร พันธรังษี. (2512). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประยูรวงศ์.

เสถียร โพธินันทะ. (2543). กระแสพุทธธรรมฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30