การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงพุทธ: แนวคิด ทฤษฎี วิธีปฏิบัติ และการประเมินผล
คำสำคัญ:
ทุนมนุษย์, พระพุทธศาสนา, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
“ทุนมนุษย์” เป็นสินทรัพย์ขององค์การที่มีความสำคัญยิ่งในการบริหารจัดการองค์การให้บรรลุเป้าหมายสามารถแข่งขันกับองค์การอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะทุนมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยและคุณธรรมจริยธรรมให้กับองค์การ การจะได้มาซึ่งทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาและการรักษาทุนมนุษย์ให้อยู่กับองค์การ ตลอดจนการออกจากองค์การไปด้วยดีนั้น ล้วนต้องอาศัยการจัดการทุนมนุษย์ที่ดี ดังนั้น ทุนมนุษย์ จำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการเพื่อเป็นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพ สร้างคุณค่าให้กับบุคคลและทำให้บุคคลคนนั้นเป็นทุนขององค์การที่มีมูลค่าสูงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินทรัพย์อื่นใดขององค์การ
พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเห็นว่าการเกิดเป็นมนุษย์ถือว่าเป็นผู้มี “ทุน” หรือเป็น “ทุนมนุษย์” อยู่แล้วและทุนมนุษย์นี้สามารถพัฒนาให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นไปได้ ผลแห่งการพัฒนาจะสั่งสมเป็นทุนติดตัวตลอดไป และผลนั้นสามารถสืบต่อข้ามภพข้ามชาติได้จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ดังนั้น คำว่าทุนมนุษย์นี้จึงหมายถึง “พระอริยบุคคล”
พระพุทธศาสนามุ่งเน้นการบริหารจัดการทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่งและคนดีโดยวางเป้าหมายไว้ 2 ระดับ คือ ระดับโลกียะ (กัลยาณชน) และระดับโลกุตตระ (อริยชน) โดยยึดกระบวนการ 3 ป. เป็นแนวปฏิบัติ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติเวธ และใช้ระบบไตรสิกขาซึ่งครอบคลุมถึงมรรคมีองค์ 8 เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งทั้งกระบวนการและระบบในการบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงพุทธนั้นจะต้องดำเนินการไปภายใต้กรอบแนวคิดตามหลักอริยสัจ 4
References
ชัชวาล ทัตศิวัช. (2552). ความรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Corporate Human Resource Responsibility). กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์.
โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และ กนกกานต์ แก้วนุช. (2555). ทางเลือก-ทางรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจของกิจกรรมทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กิจกรรมการบริหารและการพัฒนาทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์.(2555). หยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ธงชัย สันติวงษ์.(2546). การบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: กราฟิโก ซิสเต็มส์.
นิสดารก์ เวชยานนท์.(2557). การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญทัน ดอกไธสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.
บุษกร วัฒนบุตร. (2558). การจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวพุทธ. นนทบุรี: ฮับพริ้นติ๊ง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). รู้หลักก่อนแล้วศึกษาและสอนให้ได้ผล. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระมหาประสงค์ กิตฺติญาโณ (พรมศรี). (2558). พุทธวิธีการบริหารงานของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: ภาพการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ.2539. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2554). กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารทุนมนุษย์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิเชียร วิทยอุดม. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กส์.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2550). กลยุทธ์ HR ที่จับต้องได้. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
Dessler, G. (2005). Human Capital Management. Upper Saddle River, NJ: Pearson/Prentice Hall.
Hall, B. W. (2008). The New Human Capital Strategy: Improving the Value of Your Most Important Investment-Year After Year. New York: American Management Association.
Becker, G. S. (1962). Investment in human capital: A theoretical analysis. Journal of Political Economy, 70(5), 9-49.
Weatherly, L. A. (2003). Human Capital - The Elusive Asset Measuring and Managing Human Capital: A Strategic Imperative for HR. Virginia, USA: SHRM Research Quarterly.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ