แนวทางการทำเกษตรเชิงพุทธของเกษตรกรชุมชนบ้านนากวาง ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • กันยา ยอดแบน หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

เกษตรเชิงพุทธ, แนวทางการทำเกษตร, เกษตรชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการทำเกษตรเชิงพุทธของชุมชน 2) ศึกษาปัญหาการทำเกษตรของเกษตรกรในชุมชน 3) เสนอแนวทางการทำเกษตรเชิงพุทธของเกษตรกรในชุมชนบ้านนากวาง ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยและการปฏิบัติการ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 39 คน เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการทำเกษตรเชิงพุทธที่เหมาะสมกับเกษตรกร

ผลการวิจัยพบว่า การทำเกษตรเชิงพุทธของชุมชนเกิดจากความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยมีลักษณะ 1) การทำเกษตรกรรมดั้งเดิม 2) เรียนรู้เกษตรกรรมจากการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งให้เกษตรกร 3) การทำเกษตรกรรมในชุมชนจาการเพาะเมล็ดพันธุ์ การขึ้นแปลงเตรียมปลูก การทำปุ๋ยจากมูล การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการปลูกพืชหมุนเวียนใหม่ ขณะปัญหาของเกษตรกรในชุมชน ได้แก่ 1) เกษตรกรขาดความรู้ 2) ภาระหนี้สิน 3) ราคาผลผลิตตกต่ำ 4) ขาดแคลนน้ำ 5) การตกค้างของสารเคมี  6) สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาถูกทำลาย แนวทางการทำเกษตรพุทธ ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรู้ 2) การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ
3) ทำเกษตรแบบกลไกพึ่งพาธรรมชาติ 4) การผลิตแบบพึ่งพาตนเอง 5) การผลักดันเชิงนโยบายชุมชน 6) การสร้างภาคีเครือข่ายเกษตรเชิงพุทธ

References

ดำเนิน ปัญญาผ่องใส และคณะ. (2558). กระบวนการเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดเชียงราย (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญธรรม จิตต์อนันต์. (2540). ส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พิสัณฑ์ โบว์สุวรรณ, ภคมน โภคะธีรกุล, วรสิทธิ์ เจริญพุฒ, และ เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์. (2565). ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 265-277.

พีรชัย กุลชัย และ ปัญญา หมั่นเก็บ. (2548). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรรายย่อยภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา. นนทบุรี: มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน.

ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ และคณะ. (2547). รูปแบบและเทคนิคเกษตรยั่งยืน : องค์ความรู้และประสบการณ์ของเกษตรกรในพื้นที่โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย. นนทบุรี: คณะกรรมการจัดงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน.

วราภรณ์ ปัญญาวดี. (2551). การขับเคลื่อนสู่วิถีเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ : กรณีการปลูกพืชผัก. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 26(1), 107-127.

วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2550). ชุมชนท้องถิ่นพัฒนากับการเกษตรแบบยั่งยืน. ใน บทความเนื่องในโอกาสครบ 20 ปีมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

ศรีนวล มลฟู. (2563, 23 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์โดย กันยา ยอดแบน [การบันทึกเสียง]. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอียก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ, ลำปาง.

ศุภดล แก้วถังเมือง, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ, และ วิลาศ โพธิสาร. (2560). ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนชาวไร่อ้อย บ้านหนองดินดำ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 2(2), 108-118.

สมพล ไชยชนะ. (2563, 27 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์โดย กันยา ยอดแบน [การบันทึกเสียง]. ผู้ใหญ่บ้านดอนไฟ บ้านดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ, ลำปาง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่.

อุทิศ ทาหอม, สำราญ ธุระตา, และ คเนศ วงษา. (2562). การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม โดยการประยุกต์ใช้หลักเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2), 1-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30