แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล, แนวทางการพัฒนา, การบริหารจัดการคณะสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ในการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในอำเภอสบปราบที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์ในการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลมีบทบาท ดังนี้ 1) บทบาทในการเป็นผู้นำ โดยเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณและผู้นำในการพัฒนา 2) บทบาทในการอบรมสั่งสอนประชาชน 3) บทบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 4) บทบาทด้านศาสนพิธีกรรม การบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ได้แก่ 1) การส่งเสริมคุณธรรม 2) การจัดการด้านสุขภาพอนามัย 3) การส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน 4) การจัดการด้านสันติสุข 5) การจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ 6) การจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์ 7) การจัดการด้านความกตัญญูกตเวทิตาธรรม 8) การจัดการด้านสามัคคีธรรม แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรู้ 2) การจัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 3) ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 4) การมีหลักในการบริหารจัดการที่ดี
References
กรกต ชาบัณฑิต, เกษมชาติ นเรศเสนีย์, และ ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2556). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 55-67.
กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ประเวศ วะสี. (2539). พระสงฆ์กับการเรียนรู้เท่าทันสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.
พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ องค์กรคณะสงฆ์ภาค 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). (2530). ธรรมบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน.
พระมหาไกสร แสนวงศ์ และคณะ. (2564). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในภาคเหนือ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(1), 16-32.
พระมหาอำคา วรปญฺโญ และ ภักดี โพธิ์สิงห์. ( 2564). บทบาทพระสงฆ์กับจิตบริการสังคมสาธารณะ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 721-736.
วไลลัคน์ เวชนุเคราะห์. (2534). ระบบการเงินของสงฆ์. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ