การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์, ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อการพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแบบทดสอบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ก่อนการสอน ระหว่างการสอนและหลังการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่ ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ ผู้วิจัยวัดผลการทดสอบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ 3 ระยะ คือ ก่อนเรียน (สัปดาห์ที่ 2) ระหว่างเรียน (สัปดาห์ 4, 6, 11 และ 14) และหลังเรียน (สัปดาห์ 16) ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่างระหว่างคะแนนทดสอบหลังเรียนและก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 0.97 และ 3.12 ตามลำดับ ( x̅ = 0.97 S.D. = 3.12) นักศึกษาทั้งหมดและนักศึกษาที่มีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนอยู่ในระดับอ่อน มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
Artz, A. F., & Newman, C. M. (1990). Cooperative Learning in Mathematics. The Mathematics Teachers, 92(3), 240–246.
Colorado, C. (2007). Cooperative Learning Strategies. Retrieved August 14, 2019, from https://www.colorincolorado.org/article/cooperative-learning-strategies.
Gaille, B. (2015). 8 Pros and Cons of Cooperative Leaning. Retrieved August 15, 2019, from https://brandongaille.com/8-pros-and-cons-of-cooperative-learning.
Ghufron, M. A. (2018). The Strengths and Weaknesses of Cooperative Learning and Problem-Based Learning in EFL Writing Class: Teachers and Students' Perspectives. International Journal of Instruction, 11(4), 657- 672.
Jacobs, H. L., Zinkgraf, S. A., Wormouth, D. R., Hartfiel, V. F., & Hughey, J. B. (1981). Testing ESL composition: A practical approach. Rowely, MA: Newbury House.
Kagan, S. (1999). Cooperative Learning: Seventeen Pros and Seventeen Cons Plus Ten Tips for Success. Retrieved August 15, 2019, from https://www.kaganonline.com/free_articles/dr_spencer_kagan/259/Cooperative-Learning-Seventeen-Pros-and-Seventeen-Cons-kagan/259/Cooperative-Learning-Seventeen-Pros-and-Seventeen-Cons-Plus-Ten-Tips-for-Success.
Mason, J. (2013). Creative Writing. Australia: ACS Distance Education.
Mayer, R. (2003). Learning and Instruction. New Jersey, USA: Pearson Education.
Raimes, A. (1983). Techniques in teaching writing. Oxford: Oxford University Press.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice (2nd ed.). Boston, USA.: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ