การเตรียมตัวก่อนตายตามหลักพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ความตาย, การเตรียมตัว, หลักพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความเรื่อง การเตรียมตัวก่อนตายตามหลักพระพุทธศาสนา มีความคิดคล้ายคลึงกันว่า การตายหรือความตาย 1) เป็นสิ่งสากล 2) เป็นสภาวะสุดท้ายของสิ่งมีชีวิต 3) เป็นธรรมดาของทุกชีวิตและ 4) ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดไม่ผ่านชีวิตการตาย อย่างไรก็ตามถึงแม้ทุกชีวิตรู้อยู่ว่าจะต้องตายแต่ด้วยระบบจิตใจของมนุษย์ที่ต่างกัน กล่าวคือ มนุษย์ปุถุชน เมื่อนึกถึงความตายก็จะหวาดกลัว ส่วนมนุษย์อริยชน เมื่อนึกถึงความตายจะน้อมมาเป็นอนุสติ นำมาเป็นบทเตือนไม่ให้ประมาท เร่งทำความดีบำเพ็ญกุศลความดีเพื่อหลุดพ้นต่อไป สำหรับมนุษย์ผู้รู้เท่าทันกฎสากลนี้ ก็จะใช้ชีวิตอยู่อย่างมีปกติ ปราศจากทุกข์ไม่รู้สึกหวาดกลัวต่อความตายเพราะอยู่ด้วยปัญญา ดังนั้นมนุษย์ผู้มีปัญญา เมื่อรู้ว่าการตายหรือความตายเป็นกฎธรรมชาติที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้วไม่สามารถกำหนดความตายได้ว่าเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร จึงควรเตรียมตัวก่อนตายเสียให้พร้อมและดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทตามหลักปัจฉิมโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
References
กัมมันต์ พันธุมจินดา. (2539). สองและความตาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี. (2553). การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987).
ปราณี อ่อนศรี. (2557). บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามความเชื่อทางศาสนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 39-43.
ผจงศิริ อุดมสินกุล. (2562). พุทธบูรณาการการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(3), 154-166.
พระครูผาสุกวิหารธรรม (ธานุมาตย์) และ ประยูร แสงใส. (2561). ความตาย : สัจธรรมคุณค่าและสารประโยชน์มุมมองทางพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), 281-293.
พระไตรปิฎกฉบับออนไลน์. (2560). สืบค้น 24 เมษายน 2564, จาก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=587&Z=617
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2511). มหามกุฏราชานุสสรณีย์. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพจนันท์ กุมพล และ กรรณิกา คำดี. (2562). แนวคิดเรื่องความตายของศรี อรพินโท ที่มีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ในระดับปัจเจกบุคคลและสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 36(3), 257-277.
พระไพศาล วิสาโล. (2547,15 พฤษภาคม). เตรียมตัวตายอย่างมีสติ. สืบค้น 24 เมษายน 2564, จาก https://www.sarakadee.com/2004/05/15/พระไพศาล-วิสาโล/
พระมหาสมศักดิ์ อติเมโธ (สงวนดี). (2552). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องวิธีชนะความตายของพุทธทาสภิกขุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระสัทธรรมโชติ ธัมมาจริยะ. (2524). มหาอภิธัมมัตถสังคหฏีกา ปริเฉกที่ 5 เล่ม 2 กัมมจตุกะมรณุปัตติจตุกกะ. กรุงเทพ: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.
พระสิริปัญญาคุณ, พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล, พระครูโกศลอรรถกิจ, และ สวัสดิ์ อโณทัย. (2562). ศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติต่อความตายในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1813-1826.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2557). พุทธภาษิต เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 36). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สรัสวดี คงปั้น และ มนต์ ขอเจริญ. (2561). มายาคติความตายที่สื่อสารผ่านพิธีกรรมงานศพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธ : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ภไท และกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1), 79-119.
สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส). (2556). ชุดความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ การเตรียมพร้อมรับความตาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.).
สุมาลัย กาลวิบูลย์. (2553). ชีวิตหลังความตายในพระพุทธศาสนาและการตรวจสอบในเชิงวิทยาศาสตร. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมวิทยา, 2(1), 131-152.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ