การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้การสอนแบบสมดุลภาษาร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปากสิน (ตันประชานุเคราะห์)

ผู้แต่ง

  • อนุสรา คงกระพันธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิภาดา ประสารทรัพย์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์, การอ่านและการเขียน, การสอนแบบสมดุลภาษา, แผนผังความคิด, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้การสอนแบบสมดุลภาษาภาษาร่วมกับแผนผังความคิด 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนแบบสมดุลภาษาร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านปากสิน (ตันประชานุเคราะห์) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้การสอนแบบสมดุลภาษาร่วมกับแผนผังความคิด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนแบบสมดุลภาษาร่วมกับแผนผังความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบสมดุลภาษาร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนแบบสมดุลภาษาร่วมกับแผนผังความคิด โดยรวมมีความพอใจอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\fn_phv&space;\chi&space;\bar{}= 2.57, S.D. = .12)

References

กองเทพ เคลือบพาณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จารุฬี แสงอรุณ. (2558). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

วรินทร โพนน้อย. (2555). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วิจิตรา อายุยืน. (2558). การพัฒนาผลการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แผนผังความคิดประกอบการแจกลูกสะกดคำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ศศิธร บุญไพโรจน์. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 8(2), 122-131.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2554). เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แก้ง่ายนิดเดียว (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562. สุโขทัย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). การอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: โรงเพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำลี รักสุทธี. (2553). ฝึกอย่างไรให้เด็กอ่านออก เขียนได้. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

อวยพร พันธ์อุดม. (2559). การศึกษาความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

อารี สัณหฉวี. (2550). สอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษา. กรุงเทพฯ: สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31