การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
คำสำคัญ:
รูปแบบการมีส่วนร่วม, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การประกันคุณภาพภายในบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา และครู จำนวน 333 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) ร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (2) ร่วมดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3) ร่วมตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา (4) ร่วมกำกับติดตามผลการดำเนินงาน (5) ร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 4) เงื่อนไขความสำเร็จ
- ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. สืบค้น 22 ธันวาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/พรบ.-ศธ.-2546-ฉบับอัพเดท.pdf
กฤชภร สุวรรณวิหค. (2558). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาตามบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
ไมตรี บุญทศ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก, หน้า 3-5.
รัตน์จินันท์ ไพรดีพะเนาว์. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สุพักตร์ นิ่มนวล. (2558). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2560). รายงานการสังเคราะห์การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
โสภิตา ปลอดภัย. (2556). การศึกษาบทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสมุย 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
อัมพร ทองไชย. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Yeo, C., Park, C. & Mun, D. (2018). Development of a System to Convert a 3D Mesh Model in STL Format into OBJ Format. Journal of the Korean Society of Manufacturing Process Engineers, 17(3), 78-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ