การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเคียนซา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ เอียดชุม หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • โสภณ เพ็ชรพวง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ญาณิศา บุญจิตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ภาคีเครือข่าย, ความร่วมมือทางวิชาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานทางวิชาการ และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยมี 3 ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 82 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบและหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกันกับขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาการดำเนินงานทางวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ พบว่า ควรมีการกำหนดนโยบายและวางแผนร่วมกันในการจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันสมัย สอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียน การจัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศภายในและการวัดและประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตรและตัวชี้วัดและประเมินผลไปในทิศทางเดียวกัน
  2. ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 1) กระบวนการ ขั้นตอนการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 2) องค์ประกอบด้านปัจจัยของภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 3) ขอบข่าย/ภารกิจของภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ
  3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จิรภัทร มหาวงศ์, วิทยา จันทร์ศิลา และ ทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นพปฎล บุญพงษ์. (2560). การนำเสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 19(1), 14-21.

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงค์ศักดิ์ จิตสะอาด, จินตนา จันทร์เจริญ, และ บรรจบ บุญจันทร์. (2560). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกำดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2. วารสารวิชาการVeridian E –Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 878-890.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

เสมอ สุวรรณโค. (2558). รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 128-129.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2561). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 16 พฤษภาคม2563, จาก https://www.surat3.go.th/document/authority.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5rd ed.). New York: Harper Collin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30