การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารสถานศึกษา, รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 92 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 92 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล
- รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ร่วมวางแผน 2) ร่วมปฏิบัติ 3) ร่วมรับผลประโยชน์ และ 4) ร่วมประเมินผล
- ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอรตฺซินดิเค.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2556). การใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(2), 71-102.
มนัญญา ปัดถาวงษ์. (2562). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
ยงควิโรจน์ เศษวงค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่าย การศึกษาของโรงเรียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยการพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 2-15.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ