การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 6
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหาร, งานบริหารวิชาการ, กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ประชากร คือผู้บริหารและครูจำนวน 90 คน รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมากทุกด้าน
- แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือสถานศึกษาควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ คือ สถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ ด้านการวัดและประเมินผล คือ สถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศการศึกษา คือ สถานศึกษาควรส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ สถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545. คุรุสภา ลาดพร้าว.
จันทร์เพ็ญ พวกกล้ากวีประถม (2561). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 6. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1740
ชารี มณีศรี. (2552). การนิเทศการศึกษา. โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.
ทิพวรรณ ล้วนปสิทธิ์สกุล (2562). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2412
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. ข้าวฟ่าง.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ.
นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/4029
ไพรัช ชารีแก้ว. (2552). ทัศนะข้าราชการครูที่มีต่อสภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรรณเพ็ญ พิสุทธิพงษ์. (2553). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สายชล มากมี. (2552). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อัมพร อินผง. (2554). การบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตยานนาวา สังกัดกรุงเทพมหานคร. แหล่งข้อมูลทางปัญญา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/138493.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ