การส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้าง การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สาลินี รักกตัญญู หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นักการเมืองสตรีท้องถิ่น, ส่งเสริมบทบาท, การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคของนักการเมืองสตรีท้องถิ่น
2) ศึกษาการส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่น 3) ศึกษาการส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นโดยบูรณาการตามหลักทุติยปาปณิกธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา 

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปนักการเมืองสตรีท้องถิ่นได้รับการยอมรับบทบาททางเมืองมากขึ้น จากความรู้ความสามารถและศักยภาพการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ส่วนปัญหาอุปสรรคเกิดจากค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม
และเจตคติดั้งเดิม 2) การส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองสตรีพบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการเชิงนวัตกรรม และด้านการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนแนวทางการส่งเสริมบทบาท ควรมีการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามกรอบภารกิจหน้าที่ ส่งเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม และเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนนวัตกรรม 3) การส่งเสริมบทบาทโดยบูรณาการด้วยหลักทุติยปาปณิกธรรม พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีความเชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ดีตามลำดับ ส่วนแนวทางการส่งเสริมบทบาท ควรเน้นให้มีทักษะความคิดเชิงสร้างสรรค์ รู้จักพัฒนาฝึกฝนตนเอง และเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์เพื่อทำให้แต่ละคนปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เป็นการบริหารตน บริหารคน และบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กิติญา มุขสมบัติ. (2560). การพัฒนาบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสตรีไทยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

นิคม ไวยรัชพานิช. (2554). บทบาทสตรีในเวทีการเมือง. สารวุฒิสภา, 19(7), 6-7.

มนสิชา ภักดิเมธี และ พลวัฒ ประพัฒน์ทอง. (2560). บทบาทสตรีในการบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 11(3), 195-209.

ดวงใจ ปินตามูล. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำมุ่งให้บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ตามแนวพุทธธรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(9), 199-210.

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). สตรีกับการเมือง: ความเป็นจริง พื้นที่ทางการเมือง และการขับเคลื่อน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ 2562. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.ect.go.th/ectlibrary/ewt_news.php?nid=43

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30