วิถีแห่งฉลากกินแบ่งรัฐบาล : มหันตภัยหรือแหล่งสร้างรายได้ของภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • วรเชษฐ์ โทอื้น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนสาสตร์ยโสธร
  • ศักดิ์ชัย เสนามาตย์ สถานีตำรวจภูธรเขวาใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ฉลากกินแบ่งรัฐบาล, แหล่งรายได้, ภาครัฐ, มหันตภัย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการสะท้อนถึงวิถีแห่งวงการพนันของไทย ลักษณะของการพนันที่แฝงอยู่ในประเพณีต่าง ๆ ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนสังคมไทยที่มีต่อการเล่นการพนันและผลกระทบที่เกิดจากการเล่นการพนันที่รัฐอนุญาตและรัฐไม่อนุญาตผ่านวรรณกรรม กฎหมาย หลักธรรมทางพุทธศาสนา และแนวคิดศาสตร์พระราชา ผลการสังเคราะห์ข้อมูล พบว่า วิถีแห่งการพนันได้อยู่เคียงคู่กับสังคมไทยอย่างยาวนาน รวมทั้งมีบริบทและกระบวนการในการเล่นการพนันของสังคมไทยที่มีอยู่หลายรูปแบบ ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับบริบทของวัฒนธรรมประเพณี สภาพแวดล้อม กฎหมาย และระบบการปกครอง เป็นต้น ส่วนมุมมองและทัศนคติที่มีต่อการเล่นการพนันนั้น จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งมีมุมมองว่าการพนันเป็นการสร้างความสำราญใจ สร้างความบันเทิงใจโดยได้สร้างพื้นที่ทางสังคมในการสร้างความชอบธรรมให้กับการพนันในหลายรูปแบบ เช่น การเล่นการพนันที่แฝงอยู่ตามประเพณีท้องถิ่น และการเล่นการพนันในประเภทที่รัฐบาลอนุญาตและไม่อนุญาต เป็นต้น และกลุ่มที่สองมีมุมมองว่าการพนันเป็นอบายมุข เป็นหนทางแห่งความเสื่อม เป็นความหายนะต่อผู้เล่นและเป็นภัยต่อสังคม รวมทั้งเป็นสิ่งเลวร้ายที่รัฐต้องจำกัดให้หมดไปจากสังคมนั้น ๆ ซึ่งแนวคิดกลุ่มหลังนี้จะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับหลักธรรมทางศาสนาและกฎหมายเป็นสำคัญ จากการศึกษาข้อมูลที่ผ่านมาได้พบทางสองแพร่งแห่งความเชื่อที่เป็นข้อถกเถียงในประเด็นที่ว่าวิถีแห่งการพนันคืออำนาจที่ครอบงำวิถีแห่งการดำรงชีวิตของภาคประชาชน (บางกลุ่ม) ให้ตกเป็นทาสและยากที่จะหลุดพ้น

References

กรมศิลปากร. (2535). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 2 ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). เปิดข้อมูลพนันออนไลน์ทั่วโลกสะพัด 3 หมื่นล้าน. สืบค้น 10 เมษายน 2563, จาก https://www.baanjomyut.com/library/law/02/044.html

เชษฐ์ รัชดาพรรณาธิกุล. (2556). มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพนันในประเทศมาเลเชีย. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 6(3), 1-27.

เตชปญฺโญ ภิกขุ. (2565). ผีพนัน. สืบค้น 11 มิถุนายน 2565, จาก http://www.whatami.net/lum/lum75.html

พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร). (2552). ปัญญาสชาดก. เชียงใหม่: ศิลปาบรรณาคารการพิมพ์.

พระราชบัญญัติการพนัน (2543). พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล

ไพศาล ลิ้มสถิต, วิษณุ วงษ์สินศิริกุล, และ วิเชียร ตันศิริมงคล. (2556). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์ มาตรการจัดการทางการเงินและมาตรการอื่น ๆ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะการลดปัญหาจากการพนัน.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัทยา ศรีพนา. (2556). แนวทางการบริหารจัดการการพนันออนไลน์ [จุลสาร]. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2547, 10 มิถุนายน). ประวัติการพนัน ชีวิต และนํ้าตา. มติชนรายวัน. สืบค้น 10 เมษายน 2563, จาก http://libdoc.dpu.ac.th/article/V176.pdf

วัชระ ทานะวงศ์. (2557). มาตรการในการป้องกันและควบคุมการเล่นการพนันบนอินเทอร์เน็ต. วารสารนิติศาสตร์, 6(2), 30-55

วิทยากร เชียงกูล. (2562). เสพติดพนัน : ความใหญ่โตของปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

วิทยากร เชียงกูล. (2564, 1 กุมภาพันธ์). คนไทยเล่นการพนันมากน้อยแค่ไหน. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/920185

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ. (2562). การศึกษาสถานการณ์ พฤติกรรมและผลกระทบการพนัน ในประเทศไทย ประจำปี 2562. สืบค้น 10 เมษายน 2563,จาก http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2562-05-SAB-Provincial%20Report_Gambling%202019_Final%20_09.03.2020.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2565). สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 66,372 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46 ของเป้าหมายทั้งปี. สืบค้น 11 มิถุนายน 2565, จาก https://www.sepo.go.th/news/1247

สุภาพร พลายเล็ก. (2547). การพนันในสังคมไทย: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรม. วารสารวรรณวิทัสน์, 4(11), 20-48.

Sallaz, J. (2009). The Labor of Luck-Casino Capitalism in the United States and South Africa. Berkeley, CA: University of California Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30