ความเชื่อและพิธีกรรมล้านนาที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน : กรณีศึกษา สำนักปู่ใหญ่จัยยะลังกา ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • คงศักดิ์ ชัยลังกา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ส่งเสริม แสงทอง สาขาวิชาบ้านและชุมชน ภาควิชามนุษยสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, พิธีกรรมล้านนา, สุขภาวะ, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมล้านนา 2) ศึกษาการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน โดยสำนักปู่ใหญ่จัยยะลังกา 3) วิเคราะห์รูปแบบ วิธีการ กิจกรรม ตามความเชื่อของการประกอบพิธีกรรมล้านนาที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้ประชากรในการวิจัยแบบจำเพาะเจาะจงจำนวน 25 รูป/คน  เครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมล้านนา พบว่า ชาวล้านนามีความเชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ และความเชื่อในทางศาสนา อันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เกิดเป็นพิธีกรรมที่สร้างเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา สู่การพัฒนาสังคม ที่มีศักยภาพและมั่นคง
  2. การสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน โดยสำนักปู่ใหญ่จัยยะลังกา พบว่าการประกอบพีกรรมที่มีผสมผสานความเชื่อในเรื่องผี พราหมณ์ และพุทธศาสนา ที่มีพระสงฆ์ร่วมพิธีกรรมพร้อมกับเจ้าพิธี เพื่อให้พิธีกรรมมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เป็นการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน
  3. การวิเคราะห์รูปแบบ วิธีการ และกิจกรรม ตามความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมล้านนาที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน พบว่า การสร้างเสริมสุขภาวะคือ 1) จิตใจ 2) ร่างกาย 3) ปัญญา 4) สังคม โดยพิธีกรรมล้านนา ประกอบด้วย 1) สะเดาะเคราะห์ 2) สืบชะตา 3) บูชาเทียน 4) สักยันต์ 5) ปลุกเสกวัตถุมงคล มีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน ให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง ร่างกายสมบูรณ์ พัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่างมีความสุข

References

นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ.( 2561). เรือนไทย. กรุงเทพฯ: เอส.ที.พี. เวิลด์ มีเดีย.

พรรณเพ็ญ เครือไทย, ชัปนะ ปิ่นเงิน, และ ศราวุธ ศรีทา. (2550). ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (ครรชิต คุณวโร). (2563). สุขภาพแบบองค์รวมแนวพุทธ. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.thaincd.com/document/doc/HRNCD/สุขภาพแบบองค์รวมแนวพุทธ_(พระอาจารย์ครรชิต).pdf

สมประสงค์ พันธุประยูร. (2557). การถ่ายทอด ความคิด ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอผ่านพิธีกรรมกรณีศึกษาบ้านทิโพจิ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มฝาง จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). การสื่อสารพิธีกรรมล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 142-151.

อภิชาติ จันทร์แดง. (2546). ความเชื่อ พิธีกรรม : กระบวนการเรียนรู้เพื่อศักยภาพการพึ่งตนเองของชุมชน ชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านยางหลวง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อรทัย เจียมดำรัส. (2559). สุขภาพจิตดี...ด้วยวิถีล้านนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทกานต์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30