การใช้ประโยชน์จากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด

ผู้แต่ง

  • พราวพรรณ อาสาสรรพกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ชาญ ยอดเละ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มะลิวัลย์ พวงมณี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ชีวมวล, พลังงานทดแทน, เห็ด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบการใช้ประโยชน์จากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ประชาชนที่ทำเกษตรและมีปัญหาชีวมวล จำนวน 30 ครัวเรือน ข้อมูลของการวิจัย ได้นำมาเชื่อมโยง พิจารณาถึงความสัมพันธ์กันและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ เพื่อแสวงหาข้อสรุปผ่านการบรรยายเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost ratio หรือ B/C ratio) ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ และดัชนีที่จะนำมาใช้ในการประเมินความคุ้มทุนของโครงการ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการนำชีวมวลมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตเห็ด ประกอบด้วย  นำมาใช้เป็นตัวกลางในการเพาะเห็ด และการนำชีวมวลมาใช้ในขั้นตอนการต้มและนำไอน้ำจากการต้มมาอบก้อนเชื้อเห็ด โดยการปรับปรุงเตาทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ 37.5 % รวมทั้งได้รับประโยชน์จาก น้ำส้มควันไม้ และถ่าน ทำให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์และลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ของเกษตรกรได้ ซึ่งการปรับปรุงเตาต้องทำควบคู่ไปกับการปรับปรุงถังที่ใช้ต้มก้อนเห็ด ในส่วนของข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า ได้ค่า B/C Ratio เท่ากับ 1.42 แสดงว่ากิจกรรมการใช้ประโยชน์จากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด เป็นโครงการที่มีผลประโยชน์โดยจะคืนทุนภายใน 1 ปี จึงเป็นโครงการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนได้

References

เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565) เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา. สืบค้น 14 มีนาคม 2565, จาก http://muangkaen.go.th/page/get_file/fd_ul/1583380086_705.pdf/files

พัชรินทร์ รัตนวิภา. (2547). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ของสมาชิกองค์กรชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. (2550). การจัดการปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ. เชียงใหม่: ศูนย์ประสานข้อมูลปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บัญชา ใต้ศรีโคตร, ประสพสุข สร้อยทอง, และ ธราธิป ภู่ระหงษ์. (2557). การออกแบบและประสิทธิภาพเตานึ่งก้อนเชื้อเห็ด. ใน เอกสารการประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 7 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (น.43-48). กรุงเทพฯ: อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2552). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ลือพงษ์ ลือนาม. (2553). เตาผลิตไอน้ำสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีการเกษตรกร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

โสภา แคนสี. (2565). เตานึ่งก้อนเชื้อเห็ด. สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี. สืบค้น 2 มีนาคม 2565,จาก http://www.clinictech.ops.go.th/online/mobile/techlist_display.asp?tid=863

อรุณรุ่ง บุญธนันตพงศ์. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 1(1), 19-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30