การพัฒนาศักยภาพการสอนเชิงปฏิบัติการรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

ผู้แต่ง

  • พิมภัสสร เด็ดขาด มหาวิทยาลัยมหามกถฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สมรรถนะด้านการสอน, การสอนสังคมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพการสอนเชิงปฏิบัติการรายวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา 2) สะท้อนผลศักยภาพการสอนเชิงปฏิบัติการรายวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน 1) การศึกษาความต้องการสมรรถนะที่นำมาใช้ในการจัดการสอนในสาขาสังคมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการสอน 3) นำไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย 4) รายงานผลการทดลองและนักศึกษาทำการสะท้อนกลับของกิจกรรม (AAR)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจเป็นเพศชาย 9 คน คิดเป็นร้อยละ 56.25 และเพศหญิง 7 คน คิดเป็นร้อยละ 43.75 มีความต้องการในด้านกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  (µ= 4.33, S.D. = 0.45) การวางแผนในการจัดการเรียนรู้  (µ = 4.21, S.D. = 0.40) และการจัดบรรยากาศในการเรียนรู้  (µ = 4.23, S.D. = 0.38) การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ โดยรวมต้องการมาก (µ = 4.15, S.D. = 0.35) ผลการพัฒนาสมรรถนะการสอน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.03, S.D. = 0.40) ผลการสะท้อนผลการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า นักศึกษาและอาจารย์เข้าร่วมการปฏิบัติงานร้อยละ 90 สะท้อนผลว่านักศึกษามีองค์ความรู้ด้านสมรรถนะการสอนและกิจกรรมซึ่งเป็นที่สนใจของนักเรียน ด้านอุปสรรคที่พบเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้นักศึกษาบางกลุ่มต้องจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ และผลการวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการพัฒนาสมรรถนะพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.08, S.D. = 0.36)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการนำมาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบการจัดการ เรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชุมสุข สุขหิ้น. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(2), 152-172.

พัชทิชา กุลสุวรรณ์, จุไรรัตน์ คุรุโคตร, และ ประยูร วงศ์จันทรา. (2560) การจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์กับการจัดการมลพิษอย่างยั่งยืน สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 265-276.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2560, 7 ธันวาคม). สัมภาษณ์: 10 ปัญหาครูไทย ผ่านแว่นตา “ครุเศรษฐศาสตร์” ของพิริยะ ผลพิรุฬห์. สืบค้น 14 มกราคม 2564, จาก https://knowledgefarm.tsri.or.th/interview-piriya

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สสวท., 42(188), 3-6.

สุรีย์ บุญรักษา.(2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา : กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค). พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 27-42.

อุษามาศ ธเนศานนท์. (2555). รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนอนุบาลตามหลักเศรษฐกิจ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 47-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30