ศึกษาวิเคราะห์คติ ความเชื่อและการสืบสานยันต์เทียน (โปงเทียน) ในล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระอธิการกำธร เมืองมูล หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระครูสุตชยาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

คติ, ความเชื่อ, การสืบสาน, ยันต์เทียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของยันต์เทียน 2) ศึกษาการเขียนยันต์เทียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการสืบสานการเขียนยันต์เทียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้จากการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า ประวัติและความเป็นมายันต์เทียนสืบทอดมาหลายยุคหลายสมัย ก่อนสมัยพุทธกาลที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาพุทธศาสนาได้เข้ามาในสังคมล้านนาและได้อิงอาศัยความเชื่อดั้งเดิมที่ผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์จนมาถึงยุคพม่าและล้านนา โดยยันต์เทียนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) หวังผลด้านดี 2) หวังผลทางด้านร้าย ขณะที่การเขียนยันต์เทียนได้นำคำสอนทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์ แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดศีลธรรม คุณธรรม มโนธรรมอันดีงาม โดยผู้เขียนยันต์เทียนและผู้บูชาจะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมโดยเฉพาะหลักไตรสิกขา เพื่อให้ผู้ทำและผู้บูชายันต์เทียนเกิดคุณธรรม จริยธรรม และทำให้ยันต์เทียนเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติมา การสืบสานการเขียนยันต์เทียน สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ 1) การทอดถ่ายความรู้ 2) การส่งเสริมปราชญ์ท้องถิ่น 3) การสร้างกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) ศูนย์การเรียนรู้ยันต์เทียน การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและขับเคลื่อนให้เป็นกลุ่ม/ภาคีการอนุรักษ์ยันต์เทียนให้อยู่ในสังคมล้านนาต่อไป

References

ชัยพร วิชชาวุธ. (2530). บทนำสู่การวิจัยการศึกษา. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และ สำลี ทองธิว (บ.ก.), การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย (น. 2-5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพย์ สาริกบุตร. (2533). คัมภีร์หัวใจ 108. กรุงเทพฯ: เสริมวิทย์บรรณาคาร.

ธวัช ปุณโณทก. (2530). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับชีวิตคนอีสานในวัฒนธรรมพื้นบ้าน. ใน วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ (น. 350-392). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพคุณ ตัณติกุล. (2548). ล้านนาในมิติกาลเวลา. กรุงเทพฯ: โนว์เลดจ์เซ็นเตอร์.

พระประเสริฐ ชุตินุธโร (สุนทรวัฒน์). (2542). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป (รูปทอง). การศึกษาหลักพุทธธรรมและคุณค่าที่ปรากฏในยันต์เทียนล้านนา : กรณีศึกษาเฉพาะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาประสพฤกษ์ จารุวาโท (รัตนยงค์). (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องการบูชาในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย).

พระมหามนตรี วลฺลโภ (ป้อมสุข). (2542). อิทธิพลของวัตถุมงคลที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระอธิการบริสุทธิ์ สุทฺธจิตโต. (2563, 15 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย พระอธิการกำธร เมืองมูล [การบันทึกเสียง].เจ้าอาวาสวัดร่องเห็ด, ลำปาง.

มณี พะยอมยงค์. (2529). วัฒนธรรมล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

รอบทิศ ไวยสุศรี. (2555). ตอบโจทย์พระเครื่องรู้เรื่องของขลัง. กรุงเทพฯ: เน็ตดีไซน์ พับลิชซิ่ง.

เสฐียรโกเศศ. (2507). ลัทธิของเพื่อน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

อินสม ไชยชมภู. (2552). ยันต์และคาถาของดีเมืองเหนือ. ลำพูน: ร้านภิญโญ.

เอมอร ชิตตโสภณ. (2533). ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมล้านนา กับวรรณกรรมประจำชาติ. เชียงใหม่: จิมมี่ปรินท์ช็อพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30