ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมแนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนา ผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ นามประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • ชูชีพ พุทธประเสริฐ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุทธิพงศ์ ยงค์กมล คณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนในเครือสารสาสน์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารโรงเรียนเครือสารสาสน์

บทคัดย่อ

องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนที่พึงประสงค์จากการสังเคราะห์เอกสาร ประกอบด้วย  5 องค์ประกอบ และ 19 ตัวบ่งชี้ เมื่อนำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เหล่านี้มาประเมินสภาพภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ คือ 1) โครงสร้างการบริหารและนโยบายของโรงเรียน (Structure and policy) ที่ต้องมีความยืดหยุ่น สนับสนุนให้บุคลากรได้ร่วมคิดและแบ่งปันประสบการณ์การบริหารงาน 2) ความพร้อมในการให้บริการและผลผลิตที่มีคุณภาพ (Services and products) ที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้บริหารให้เกิดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่แท้จริง 3) ความร่วมมือของบุคลากร (Man) ต้องให้เกิดความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลาง ผู้บริหารระดับสูงที่รับการพัฒนาและบุคลากรทุกฝ่าย 4) งบประมาณ (Money) โรงเรียนต้องมีการจัดสรรที่ชัดเจนและเป็นธรรม 5) วัสดุอุปกรณ์ (Material) ต้องมีความพร้อมของอาคารสถานที่ สื่อเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ 6) การบริหารจัดงาน (Management) ต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการคุณภาพ เช่น ความสามารถในการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การกำกับติดตามประเมินผล

References

กีรติ ยศยิ่งยง.(2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลชลี จงเจริญ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. https://www.stou.ac.th/Schools/Sed/upload/หน่วยที่%2012%20ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนัก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Carmeli, A., Gelbard, R., & Gefen, D. (2010). The importance of innovation leadership in cultivating strategic fit and enhancing firm performance. The Leadership Quarterly, 21(3), 339-349.

Horth, D., & Buchner, D. (2009). Innovative Leadership. Muhyideen College of Education. https://www.muyhideencoed.com/library/ebooks/resources/Innovation_Leadership_by_david_horth.pdf

Sena, A., & Erena, E. (2012). Innovative Leadership for the Twenty-First Century. Science direct. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812008816

Smith, T. (2004). Innovative leadership. In G. R. Goethals, G. J. Sorenson, & J. M. G. Burns (Eds.), Encyclopedia of Leadership. Sage Pub.

Volk, A. (2012). A leadership competency profile for innovation leaders in a science-based research and innovation organization in South Africa. Science direct. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812009056

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28