ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม

ผู้แต่ง

  • ชนกพร ใจขวาง หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร ภาควิชาหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, ความสามารถในการแก้ปัญหา, การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้รับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มในการจัดกิจกรรม เรื่องสมบัติของวัสดุ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่า t-test แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2539). ปฏิรูปการศึกษาไทย การยกเครื่องทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ภูรินทร์ แตงน้อย. (2560). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์บนฐานความรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องบรรยากาศและลมฟ้าอากาศขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 143-154.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรุณศรี สีหปัญญา และ ประยุทธ ไทยธานี. (2557). ศึกษาผลการเรียนรู้โดยการสืบเสาะแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สืบค้น 1 มีนาคม 2560, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/HMP17.pdf

Artzt, A. F., & Newman, C. M. (1990). Cooperative Learning. The Mathematic Teacher, 83(6), 448-449.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1991). Active Learning: Cooperation in the College Classroom. Edina, MN: Interaction.

Sharan, Y., & Sharan, S. (1989). Group Investigation Expands Cooperative learning. Retrieved March 15, 2019, from http://www.ascd.org/ASCD/pdf/journals/ed_lead/el_198912_sharan.pdf

Sharan, Y., & Sharan, S. (1992). Expanding Cooperative Learning Through Group Investigation. New York: Teacher College, Columbia University.

Siddiqui, M. H. (2013). Group investigation model of teaching: enhancing learning level. Paripex-Indian Journal of Research, 3(4), 78-80.

Slavin, R. E., & Cooper, R. (1999). Improving Intergroup Relations: Lessons Learned from Cooperative Learning Programs. Journal of Social, 55 (4), 647-663.

Weir, J. J. (1974). Problem Solving is Everybody’s Problem. Science Teacher, 41(4), 16-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30