รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบใฝ่รู้ของโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดกิตติพงษ์ กิตฺติโสภโณ (วงศ์สถาน) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สยาม ราชวัตร ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การสอนแบบใฝ่รู้, ภาวนา 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา 2) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบใฝ่รู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบใฝ่รู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 94 คน แบ่งเป็นนักเรียนชาย 47 คน และนักเรียนหญิง 47 คน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. บริบทการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาของโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีความพร้อมทางปัจจัยนำเข้าทั้งอาคารสถานที่ การเห็นความสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน และการได้รับความร่วมมือจากทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตรได้กำหนดเป็นนโยบายของสถานศึกษา โดยดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่หลากหลายและส่งผลให้นักเรียนมีความประพฤติดี มีมารยาทเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ มีความเคารพต่อครูและบุคคลที่อายุมากกว่า ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็น และประหยัด
  2. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.69/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
  3. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบใฝ่รู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). รายงานการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม. คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. (2521). ประชุมศิลาจารึกฉบับที่ 1. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

ทิศนา แขมณี และคณะ. (2544). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน: การศึกษาพหุกรณี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นนทลี พีธาราวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ปราญชลี มะโนเรือง และเชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2561). เอกสารประกอบการอบรม การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อผู้เรียนยุคใหม่ ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. นายฉบับ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). หลักแม่บทของการพัฒนาตน (พิมพ์ครั้งที่ 15). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รวิชญุฒม์ ทองแม้น, สุชาดา กรเพชรปาณี, และปิยะทิพย์ ประดุจพรม. (2560). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยประยุกต์กระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 133-146.

ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). นวัตกรรมการเรียนการสอน. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 2(2), 12-15.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน.......เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2514). ลายพระหัตถ์เกี่ยวกับการศึกษา: ประมวลพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมรณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุเทพ เชื้อสมุทร. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. ฐานข้อมูล Knowledge Bank at Sripatum University. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5409

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24