การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านธิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1

ผู้แต่ง

  • ทรายทอง ใฝ่ขันติ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สิทธิชัย มูลเขียน สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

คำสำคัญ:

การบริหาร, หลักสูตรสถานศึกษา, การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านธิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านธิ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 6 โรงเรียน รวม 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\chi&space;\bar{}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการกำกับดูแลคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และด้านการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
  2. แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านธิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 พบว่า 1) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ควรบูรณาการหลักสูตรให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) ด้านการดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของแต่ละรายวิชา 3) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนหลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ 4) ด้านการกำกับดูแลคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล 5) ด้านการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนให้คณะครูได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร และควรปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน

References

ธนัฏฐ์ แสนแปง. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามคู่มือหลักสูตรอาเซียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระเดช เรือนแก้ว. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 130-140.

นวพรรณ อินต๊ะวงศ์. (2555). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คลังสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:117739

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. สุวีริยาสาส์น.

พัชราภรณ์ พานทอง. (2560). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี.คณะศึกษาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. BUUIR คลังปัญญามหาวิทยาลัยบูรพา. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/6866/1/Fulltext.pdf

รวีวรรณ ต๊ะถิ่น, สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส, และปรีชา อ่วมปัญญา. (2558). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ นำร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(3), 230-240.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สุภชาดา เหมปาละธำรง. (2559). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนต้นแบบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1-3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 337-348.

สุภาพร พักกระโทก. (2556). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 [วิทยานิพนืปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เหมือนฝัน วงเดช. (2562). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 3(1), 133-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27