การบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • กิตวิชัย ไชยพรศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารราชการแผ่นดิน, ข้าราชการฝ่ายปกครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง 2) ศึกษาการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 19 รูปหรือคน และจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 8 รูป และวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการบริหารราชการแผ่นดิน ของข้าราชการฝ่ายปกครอง จังหวัดอุทัยธานี มีลักษณะงานของการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง มีความรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่และงานในระดับพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับอุปสรรคที่พบคือ กระแสทางสังคม การเมือง อำนาจและผลประโยชน์ ตลอดจนมีการสับเปลี่ยนตำแหน่งขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน การขับเคลื่อนภารกิจที่กำหนดโดยส่วนกลาง มีระยะเวลาสั้น ทำให้ภารกิจขาดความถูกต้องและไม่บรรลุวัตถุประสงค์ มีการทำงานภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ กำลังคน และเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ที่มีอยู่อย่างจำกัด
  2. การบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครองมีตัวชี้วัดในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ 1) การประเมินประสิทธิผล เป็นการใช้หลักระเบียบ หรือเกณฑ์มาใช้ในการประเมิน ไม่ได้นำหลักธรรมมาใช้ในการประเมิน 2) การประเมินคุณภาพ การปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับระเบียบที่กำหนด เป็นการแสดงในเชิงปริมาณ สามารถนำหลักธรรมเข้ามาใช้ในการประเมินได้ จึงไม่พบปัญหาอุปสรรค เพราะยึดตามระเบียบ 3) การประเมินประสิทธิภาพ คือการประเมินความพอใจ ขึ้นอยู่กับวิธีการในการประเมินมีการนำหลักธรรมเข้ามาบูรณาการในการประเมินประสิทธิภาพ 4) การพัฒนาสมรรถนะองค์การ องค์การมีการทำงานแบบระบบปิด จึงจำเป็นต้องนำหลักธรรมมาบูรณาการในการพัฒนาสมรรถนะ

References

ชไมพร เทือกสุบรรณ และพัชรี สิโรรส. (2553) ประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในกรมที่ดิน: กรณีการนำเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และฉกาจ ขันชู. (2544). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/6551

มานิตย์ จุมปา. (2548). คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันดาวิสา รัตนสุรังค์. (2550). การพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ในส่วนราชการ ของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย. โฟร์เพซ.

สนิท สายปินตา. (2545). การบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษา อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรภาครัฐ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น: การทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานส่วนกลาง ไปปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาค. คณะกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 3: การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น. สำนัก.

สุรางค์ วิสุทธิสระ. (2564). สภาพการบริหารงานและความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากร ตำแหน่งพนักงานราชการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30.

สุริยะ วิริยะสวัสดิ์. (2556). รูปแบบภาวะผู้นำของนายอำเภอกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28