แนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเชิงพุทธของชุมชน ตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์, ป่าชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการป่าชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการป่าชุมชน 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเชิงพุทธของชุมชนตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 270 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป/คน เพื่อเสนอการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเชิงพุทธของชุมชนด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติและการพรรณนาเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- วิธีการจัดการป่าชุมชนด้วยการจัดทำแนวป้องกันไฟป่า ลดการตัดไม้ทำลายป่า จัดเสริมป่าในพื้นที่ว่างเปล่า และปลูกจิตสำนึกในแก่ประชาชน
- ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ บทบาทผู้นำในการจัดกิจกรรมป้องกันภัยป่าชุมชน ชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ภาครัฐเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้สมบูรณ์ รณรงค์ให้ชุมชนใช้ทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้
- การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเชิงพุทธ ได้แก่ การงดเว้นจากการถางเปลือกไม้อันเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ตาย การร่วมปลูกป่าในพื้นที่เสื่อมโทรม และร่วมประกอบพิธีบวชป่า สืบชะตาป่าที่แสดงให้เห็นถึงความรักและหวงแหนต่อป่าชุมชน ดังนั้น แนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเชิงพุทธควรนำหลักปธานมาประยุกต์ใช้เป็นฐานในการปฏิบัติ กล่าวคือ 1) สังวรปธาน คือ ชุมชนควรจัดทำแนวป้องกันไฟป่า ปกป้องพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ 2) ปหานปธาน คือ ชุมชนควรรณรงค์งดตัดไม้ งดการเผา และงดล่าสัตว์ทุกชนิด 3) ภาวนาปธาน คือ ชุมชนควรส่งเสริมการปลูกต้นไม้ยืนต้น พัฒนาสิ่งแวดล้อมในป่าชุมชน 4) อนุรักขนาปธาน คือ ชุมชนควรจัดพิธีบวชป่าและรักษากฎระเบียบป่าชุมชน
References
กรมป่าไม้. (2540). แนวทางปฏิบัติงานโครงการพัฒนาป่าชุมชน. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้.
กรมป่าไม้. (2561). ป่าชุมชน: รูปแบบการพัฒนาและบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน. สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้.
จักรพงษ์ พวงงามชื่น, วิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์, และนคเรศ รังควัต. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 36(2), 215-234.
ทิวาวรรณ บุญทวี. (2555). ปัญหาการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงค์รินทร์ ใจมะสิทธิ์. (2559). การมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนต่อการจัดการป่าชุมชนตำบลบ้านปวง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
นิภาภรณ์ เกียรติสุข. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยใน เขตเทศบาลเมืองชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
พระครูพิพิธสุตาทร และคณะ. (2552). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชน บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. DSpace at Mahachulalongkornrajavidyalaya University. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/452
วิภาวรรณ มะลิวรรณ์, อภิชาต ใจอารีย์, และประสงค์ ตันพิชัย. (2560). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนเขาขลุง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 694-708. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/87405
ศูนย์สารสนเทศ สำนักแผนงานและสารสนเทศ กรมป่าไม้. (2560). ป่าชุมชนบ้านอ้อ. http://forestinfo.forest.go.th/fCom_detail.aspx?id=10390
สุพจน์ พิสุทธิวงศ์. (2535). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาม้าของผู้นำชุมชน ในเขตจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรวรรณ เกิดจันทร์. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าชายเลนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
อุทิศ ทาหอม. (2558). แนวทางการจัดการป่าชุมชนริมแม่น้ำชีเพื่อสร้างความมั่นคง ทางอาหารของชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ