การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ธนรัตน์ วิชัยรัตน์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • อำนาจ จันทร์แป้น คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนา, บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้อง ป.3/1, ป.3/2 รวมจำนวน 43 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word มีค่า E1/E2 เท่ากับ 87.64/91.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76

References

ชุติมา ประมวลสุข. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกู้กู. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัภูเก็ต.

ดารารัตน์ สมมาตย์ และเหมมิญญ์ ธนปัทม์มีมณ. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองประกอบการเรียนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำ หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 50-59.

ทัศนัย สัปทน และวิวัฒน์ ทวีทรัพย์. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/5662021-03-04.pdf

นราวุธ หมัดอะดัม. (2558). รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ครูบ้านนอกดอทคอม. https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=139104&bcat_id=16

ประทีป ภู่เกิด. (2547). เปรียบเทียบวิธีการเรียนแบบรายบุคคลกับแบบกลุ่มด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องรูปวงกลม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรินทร์ มีศิริ และกาญจนา บุญส่ง. (2562). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 21(1), 162-163.

พิเชษฐ พิศวง. (2549). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา ง 422 เรื่องการใช้โปรแกรมพิมพ์เอกสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รสริน พิมลบรรยงก์. (2554). ระบบการสอนและการฝึกอบรม. คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วีระชัย ชาปู่. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนคอมพิวเตอร์โปรแกรมนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยหนังสือการ์ตูนกับการสอนปกติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/7694

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลกัสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สุนิสา ขำภิรมย์ และอุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องงานประดิษฐ์และงานธุรกิจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28