ปัญหาการจัดสวัสดิการแรงงาน

ผู้แต่ง

  • วีรนุช พรมจักร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ณฐภัทร อยู่เมือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกษม ประพาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

สวัสดิการ, แรงงาน, ปัญหาการจัดสวัสดิการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดสวัสดิการแรงงานของไทย เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดสวัสดิการแรงงาน เพราะสวัสดิการจะทำให้บุคลากรในองค์กรพร้อมที่จะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อองค์กรให้เจริญก้าวหน้า และใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานพร้อมที่จะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจในการปฏิบัติงาน จะเห็นได้จากการที่รัฐเข้าสนับสนุนในการจัดให้มีกฎหมายประกันสังคมที่นายจ้างลูกจ้าง และรัฐบาลร่วมกันรับผิดชอบด้วยกัน รวมทั้งการที่อุตสาหกรรมได้เริ่มคำนึงถึงสวัสดิการแรงงานที่เป็นประโยชน์แก่สังคมรอบ ๆ โรงงานหรือมีการพัฒนาชุมชนรอบโรงงานอุตสาหกรรมเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนภายนอกด้วย ทำให้มีการร่วมมือและการประสานงานกับรัฐบาลในระดับท้องถิ่น ระดับภาค และระดับประเทศ ในระยะนี้มีการร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมเล็ก ๆ ในการจัดสวัสดิการแรงงาน โดยมีรัฐบาลร่วมรับผิดชอบ เช่น ในประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลรับผิดชอบต่อทรัพย์สมบัติของอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้น การจัดสวัสดิการในโรงงานอุตสาหกรรมก็จะนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นและประเทศชาติ ส่วนใหญ่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีการจัดสวัสดิการแรงงานในลักษณะนี้ ปัจจุบันประเทศไทยให้สวัสดิการแรงงานแก่ลูกจ้างนอกเหนือกฎหมายกำหนดก็แสดงว่า นายจ้างเริ่มมีความรับผิดชอบทางสังคมมากขึ้น แม้ว่าสวัสดิการแรงงานที่ให้ส่วนใหญ่ยังคงจำกัดเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวลูกจ้างเท่านั้นก็ตาม การที่จะพัฒนาสวัสดิการแรงงานให้ถึงขั้นที่สังคมมีส่วนรับผิดชอบ อาจจะยังต้องใช้เวลาและความพร้อมของทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง และเป็นเรื่องที่เป็นไปได้หากมีการเผยแพร่ความคิดที่ถูกต้องในด้านสวัสดิการแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

References

กระทรวงแรงงาน. (2565). สวัสดิการแรงงาน. https://lb.mol.go.th/คนทำงาน/สิ่งที่ลูกจ้างควรรู้/สวัสดิการแรงงาน

ธีรพันธ์ ลมูลศิลป์ และวัชระ ยี่สุนเทศ. (2562). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 76-84. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/176850

ปิยาภรณ์ พรหมทัต และเกียรติชัย วีระญาณนนท์.(2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 167-177. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/249912

เพ็ญศรี ฉิรินัง.(2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคอุตสาหกรรมกรณีศึกษาอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนืปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2557). ความหมายและขอบเขตของคำว่า “สวัสดิการ”. http://ftiweb.off.fti.or.th/intranet/file/banner/welfare.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2559. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/workerOutSum59.pdf

Yoder, D. (1942). Personnel management and industrial relations. Prentice-Hall. https://doi.org/10.1037/13581-000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28