การประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่บูรณาการกับการเรียนการสอน วิทยาลัยการอาชีพฝาง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สวนพฤกษศาสตร์, บูรณาการการเรียนการสอน, การประเมินโครงการ, วิทยาลัยการอาชีพฝางบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่บูรณาการกับ การเรียนการสอน วิทยาลัยการอาชีพฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย คณะที่ปรึกษาประสานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเขตภาคเหนือ จำนวน 5 คน คณะกรรมการดำเนินงานโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนวิทยาลัย การอาชีพฝาง จำนวน 70 คน และกลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane นักเรียน นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 331 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพฝาง จำนวน 331 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) ด้านบริบท เท่ากับ 0.85 ด้านปัจจัยเบื้องต้น เท่ากับ 0.84 ด้านกระบวนการ เท่ากับ 0.94 และด้านผลผลิต เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการบรรยายตามสภาพจริง
ผลการวิจัยพบว่า
- ด้านบริบท ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในด้านบริบทของโครงการ มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมิน (= 4.26, S.D. = 0.68)
- ด้านปัจจัยเบื้องต้น ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมิน (= 4.21, S.D. = 0.69)
- ด้านกระบวนการ ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในด้านกระบวนการของโครงการ มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมิน (= 4.24, S.D. = 0.67)
- ด้านผลผลิต ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในด้านผลผลิตของโครงการ มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมิน ( = 4.26, S.D. = 0.70)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545. https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/3.-พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542-ฉ.2.pdf
กิจจา อ่องฬะ. (2557). การประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า เทศบาลนครเชียงราย.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2543). สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา.
จันทร์จิรา พิทักษ์. (2563). รายงานประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
พัสมณฑ์ รามสูต. (2553). การประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนนาคำวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ศศิธร สายศร. (2561). การประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่บูรณาการกับการเรียน การสอน โรงเรียนฮอดพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). จตุพรดีไซน์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.
อุดม ธรรมมา. (2557). การประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 3 (บ้านท่าช้าง) จังหวัดชัยภูมิ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ