รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารการจัดการเรียนรู้, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการรูปแบบ 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพความต้องการจำเป็นของการบริหารการจัดการเรียนรู้ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับความสำคัญใหม่ 2) ด้านการบริหารหลักสูตร 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการพัฒนาครู 5) ด้านการประเมินผลในการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ 6) ด้านการรับฟังเสียงสะท้อนจากครูผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน
- รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินการ 4) แนวทางการประเมิน
- ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 69-80. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249149
ณิชา พิทยาพงศกร. (2563, 14 พฤษภาคม). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241830
บุญชม ศรีสะอาด (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่10). สุวีริยาสาส์น.
พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 4(8), 39-54. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/244928
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 783-795. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/243660
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2563). ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่. บุ๊คพอยท์.
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563, 7 พฤษภาคม). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic
มาลี บุญศิริพันธ์. (2563, 6 พฤษภาคม). รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา. ไทยพีบีเอส. https://www.thaipbs.or.th/news/content/292126.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน. สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา.
อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 14(2), 178-195. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/253277
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Tests (4th ed.). Harper & Row Publishers.
Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1961). The Human Organization. McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ