กบฏล้านนา: การประกอบสร้างภาพแทนผู้ชายล้านนาในนวนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2490-2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้ศึกษาการประกอบสร้างภาพแทนผู้ชายล้านนาในนวนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2490-2560 ผ่านเหตุการณ์การก่อกบฏในล้านนา 2 ครั้ง คือ กบฏพระยาปราบสงครามใน พ.ศ. 2432 และกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ในพ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์การก่อกบฏทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นภาพแทนของผู้ชายล้านนาที่เป็นนักสู้เพื่อบ้านเมืองและนักสู้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน อีกทั้งได้นำเสนอภาพแทนนักสู้ล้านนาที่ต่อต้านการก่อกบฏในฐานะพระเอกและนำเสนอภาพแทนนักสู้ล้านนาที่เป็นกบฏในฐานะผู้ร้าย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ชัยพงษ์ สำเนียง. (2558). ประวัติศาสตร์ของ 'กบฏ' 'กบฏ' ของประวัติศาสตร์: กบฏเงี้ยวเมืองแพร่. ศิลปวัฒนธรรม, 36(9 กรกฏาคม 2558), 128-145.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2521). พัฒนาการนวนิยายไทย พ.ศ. 2475 - 2500 : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวนิยายกับสังคม. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ:
อ่าน และวิภาษา.
เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2559). เปิดแผนยึดล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน.
บัวริน วังคีรี. (2556). ภาพแทนล้านนาในสายตาคนนอก (สยาม/ไทย) และการโต้กลับมายาภาพของนักเขียนพื้นถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 14(1). 1-37.
ปิยะพร ศักดิ์เกษม [นามแฝง]. (2556). สะพานแสงคำ. กรุงเทพฯ: อรุณ.
ปิยะพร ศักดิ์เกษม [นามแฝง]. (2559). รากนครา. กรุงเทพฯ: อรุณ.
พ.วังน่าน [นามแฝง]. (2545). ทัพทัน 1902. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างการพิมพ์.
ภูเดช แสนสา. (2561). Phraeobserver. สืบค้นจาก http://www.phraeobserver.com/2013/05/blog-post_18.html
มารศรี สอทิพย์. (2551). เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : กลวิธีการเล่าเรื่องกับการสร้างภาพลักษณ์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2547). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สาลินี มานะกิจ. (2559). กบฏบวรเดชในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์. ดำรงวิชาการ, 15(1), 279-310.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2548). วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์. สืบค้นจาก http://www.phd-lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf