รูปแบบการบริหารและจัดการเครือข่ายการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน) เพื่อการสืบศิลป์แผ่นดินล้านนา

Main Article Content

ศันสนีย์ อินสาร
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
สุวดี อุปปินใจ
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารและจัดการเครือข่ายการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของมหาวิชชาลัย
พุทธเศรษฐศาสตร์ (ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน)เพื่อการสืบศิลป์แผ่นดินล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายเพื่อการบริหารและจัดการเครือข่ายการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของมหาวิชชาลัย
พุทธเศรษฐศาสตร์(ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน) เพื่อการสืบศิลป์แผ่นดินล้านนา และ2) พัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการเครือข่ายการศึกษาของมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน)
เพื่อการสืบศิลป์แผ่นดินล้านนา


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 70 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน  5 คน ครูผู้รับผิดชอบงานดนตรีกวีศิลป์ จำนวน 35 คน ปราชญ์ชาวบ้านในเครือข่ายของมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน) จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มแบบตรวจสอบและยืนยันองค์ประกอบของเครือข่าย แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบของเครือข่ายประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) การมีปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน
    (=4.25, S.D. = .635) 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (=4.21, S.D. = .614)  3) การมีส่วนร่วม (=4.28,S.D. = .612)
    4) ความไว้วางใจ (=4.33, S.D. = .620) 5) การสร้างพันธกรณี (=4.30, S.D. = .633) 6)ความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง (=4.32, S.D. = .628) 7) ผู้นำเครือข่าย (=4.40, S.D. = .604) 8) สมาชิกของเครือข่าย (=4.26, S.D. = .611) และ 9) การพัฒนาสมาชิก (= 4.24, S.D. = .651) ผลการตรวจสอบและยืนยันองค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบของเครือข่ายมีความเหมาะสมและสอดคล้องในทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัด

  2. การพัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการเครือข่ายการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน) เพื่อการสืบศิลป์แผ่นดินล้านนาประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) ระบบและกลไกของรูปแบบ 3) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ และ 4)การประเมินผลรูปแบบ

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2553). ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การประกันคุณภาพของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรภัทร มหาวงค์, วิทยา จันทร์ศิลา และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.

ชาญทนงค์ บุญรักษา, วิทยา จันทร์ศิลา, สำราญ มีแจ้ง, และจิติมา วรรณศรี. (2557). รูปแบบการบริหารการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อการจัดการศึกษา ระดับปริญญาตรีในสถาบันการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3),147-159.

ทิศนา แขมณี. (2550). แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.

บุญเรียง สิทธิ์ทองสี. (2557). รูปแบบการบริหารงานกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร).

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. (2553). มองข้ามโลกาภิวัตน์ : กระบวนทัศน์ใหม่ในการ บริหารการศึกษา ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์.ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่ และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1 - 90. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

วิสิทธิ์ศักดิ์ ชัยเกิด. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรวง วรอินทร์. (2557). รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/mar2561-3.pdf

สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นจาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุระพี อาคมคง. (2550). รูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Eisner, E. W. (1994). Cognition and Curriculum Reconsidered. New York: Teachers College Press.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Husen, T., & Postlethwaite, T. N. (1994). The International Encyclopedia of Education. (2nd ed.). Great Britain: Pergamon Press.

Keeves, J. P. (1988). Model and Model Building in Education Research, Methodology and Measurement an International Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Schwirian, P. M. (1987). Evaluation the performance of nurse: A multidimensional approach.Nursing Research,27(6), 347 - 351.