ภาพลักษณ์ของชาวจีนและชาวตะวันตกในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

จตุธรรม แซ่ลี้
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของชาวจีนและชาวตะวันตกในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของตัวละครชาวจีนและชาวตะวันตกกับบริบททางสังคม โดยศึกษาจากบทพระราชนิพนธ์ที่มีตัวละครชาวจีนและชาวตะวันตกจำนวน 10 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ของตัวละครชาวจีนและชาวตะวันตกที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแตกต่างกัน โดยภาพลักษณ์ของชาวจีนที่ปรากฏคือ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ความฉลาดแกมโกง การเป็นคนต่างภาษา การเป็นตัวตลก การไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการเป็นอนารยชน ส่วนภาพลักษณ์ของชาวตะวันตกที่ปรากฏคือ การเป็นมิตร การเป็นอารยชน การเป็นศัตรูและผู้มีอำนาจทางทหาร ตัวละครชาวจีนและชาวตะวันตกในบทพระราชนิพนธ์สะท้อนให้เห็นบริบททางสังคมเกี่ยวกับชาวต่างชาติในรัชสมัย กล่าวคือ บริบทสังคมช่วงที่ชาวจีนมีอิทธิพลในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ไทยต้องเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก อิทธิพลของชาวจีนและชาวตะวันตกในช่วงเวลานั้นนับเป็นภัยหนึ่งต่อความมั่นคงของชาติ บทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สร้างตัวละครชาวจีนและชาวตะวันตก เพื่อชี้ให้เห็นลักษณะที่พึงระวังจากภัยของชาวต่างชาติ กล่าวคือ ตัวละครชาวจีนในบทพระราชนิพนธ์ถูกกำหนดสถานภาพให้ด้อยกว่าตัวละครคนไทย และสร้างปัญหาในเนื้อเรื่องแม้ว่าจะไม่ใช่ปัญหาหลักของเรื่อง แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้แก่ตัวละครอื่น ส่วนภาพลักษณ์ของชาวตะวันตกถูกสร้างเน้นไปที่การเป็นชาติสัมพันธมิตร เพื่อส่งเสริมพระบรมราโชบายในการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาพลักษณ์ของชาวตะวันตกจะส่งเสริมการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็ยังมีภาพลักษณ์ผู้มีอำนาจทางทหารที่คนในชาติเราก็ต้องตระหนักรู้เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรภิรมย์ สุวรรณานนท์. (2524). พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างชาติไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

กุหลาบ มัลลิกะมาศ. (2542). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ. (2529). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2521). พัฒนาการนวนิยายไทย พ.ศ. 2475 – 2500: การศึกษาระหว่างนวนิยายกับสังคม. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ทวี ธีระวงศ์เสรี. (2516). สถานภาพทางกฎหมายของชาวจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เทพ บุญตานนท์. (2559). การเมืองการทหารไทย สมัยรัชกาลที่ 6. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

เทพ บุญตานนท์. (2560). “พวกยิวแห่งบูรพาทิศ: ประวัติศาสตร์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับชาวจีนโพ้นทะเล”. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(1), 55 – 79.

นงเยาว์ จิตตะปุตตะ. (2520). บทบาทของสิ่งพิมพ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อการเมืองการปกครอง พ.ศ. 2453-2460. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ปวริส มินา. (2556). การสร้างสรรค์บทละครพูดชวนหัวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจากบทละครสุขนาฏกรรมภาษาฝรั่งเศส. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ปิ่น มาลากุล. (2516). พระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2515). บทละครพูดเรื่อง น้อยอินทเสน, ความดีมีไชย, เจ้าข้า, สารวัด! เห็นแก่ลูก, ตั้งจิตคิดคลั่ง. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2519). บทละครพูดเรื่อง ร.ต.ล. “นนทรี” และมหาตมะ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2528). ยิวแห่งบูรพาทิศ และเมืองไทยจงตื่นเถิด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2555). คดีรหัส. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2560). 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1: พระราชนิพนธ์อันเนื่องด้วยงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป เล่ม 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2560). หัวใจนักรบ. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลกูล อังกินันทน์. (2515). บทบาทชาวจีนในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.

พวงร้อย กล่อมเอี้ยง. (2516). พระบรมราโชบายเกี่ยวกับปัญหาชาวจีนในพระราชอาณาเขตรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

โรจน์ จินตมาศ. (2531). แนวความคิดของผู้นำไทยเรื่อง "ชาติ" กับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศรีอยุธยา. (2504). ผิดวินัย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ศรีอยุธยา. (2511). ละครพูดเรื่อง นินทาสโมสร, หมอจำเป็น. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ศรีอยุธยา. (2512). ละครพูดเรื่อง ท่านรอง, คดีสำคัญ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ศรีอยุธยา. (2520). หนามยอกเอาหนามบ่ง สำนวนแรก และวิวาหพระสมุทร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุจิรา ศิริไปล์. (2528). พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสงครามโลกครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). ประวัติศาสตร์การทูตไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

อัญชลาภรณ์ โกมลเสวิน. (2518). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ 2453-2468). (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

อัญชลี ภู่ผกา. (2553). พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: วรรณคดีกับการสร้างชาติ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).