การวิจัยเชิงปฏิบัติการรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค)

Main Article Content

สุรีย์ บุญรักษา
ภารดี อนันต์นาวี
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน หัวหน้างาน จำนวน 6 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักคือ 1) องค์ประกอบด้านกิจกรรมการบริหารงานสถานศึกษา 6 งาน ได้แก่ 1.1) การบริหารงานวิชาการ คือ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.2) การบริหารงานบุคลากร คือ การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 1.3) การบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุ คือการพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา 1.4) การบริหารงานกิจการนักเรียน คือ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ์ 1.5) การบริหารงานอาคารสถานที่ คือ การพัฒนาการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม 1.6) การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน คือการพัฒนาการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2) องค์ประกอบกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การบ่งชี้ความรู้การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การเข้าถึงความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ 3) ปัจจัยที่สนับสนุนให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยภาวะผู้นำ กลยุทธ์ วัฒนธรรมองค์การเทคโนโลยี โครงสร้างและการวัดผล

ประสิทธิผลจากการนำรูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทำให้เกิด การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู ผู้บริหาร สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ครูสามารถนำการจัดการความรู้ไปพัฒนาสถานศึกษา ทำให้เกิดเป็นสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

 

PARTICIPATORY ACTION RESEARCH FOR DEVELOPMENT OF THE KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL OF SCHOOL IN THE MUANG PATTAYA: CASE STUDY OF MUANG PATTAYA 7 SCHOOL(BAN NONG PANG KHAE)

The research study aimed to develop the knowledge management model of schools in Muang Pattaya a case study of Muang Pattaya 7 School (Ban Nong Pang Khae). The group key informant includes 1 administrator, 6 head education structure administrators, 9 head of learning instructors in the school and 5 basic education boards. The research study had data collection, method, document analysis, participant-observation, in-depth interviews and analysis using phenomenal science structure. The research focused in three aspects: 1) the administrative management structure, 2) the knowledge management process and 3) the factors influencing knowledge management. First, the administrative management structure had six (6) departments namely; 1) academic affairs, it is functioned as to develop the learning activities which consist of making lesson plans, creating learning process applying from the lesson plans, and supervision. 2) Personnel development is to enhance efficiency of the practice. This department consists of human resource plan to conduct personnel development and mentoring system activities. 3) General affair/finance and facilities helped develop the plan in its setting which involves develop plan process and review. 4) Student affairs were assigned to encourage student’s  desirable characteristics, moral values and ethics provided with project activity, monitoring, and evaluating activity. 5) Building and maintenance affairs were helped to develop the atmosphere, environment, building and equipment to be used in the setting, resource learning/ mentoring and follow up. 6) Community Relation affairs were helped to maximize the plan by developing community participative education management. The knowledge management process involved knowledge management identification, knowledge creation and acquisition, knowledge organizational structure, knowledge access, knowledge codification and refinement and knowledge sharing and learning. Lastly, the factors influencing knowledge management which is involved eadership, strategy, organizational culture, technology, structure and measurement. By using Knowledge Management Model in Pattaya City schools a case study of Pattaya City School 7 (Ban Nong Pang Khae) the study were able to help the administrator to participate using knowledge management skills to ensure knowledge sharing by using technology. The teachers were able to implement knowledge management to their work initiated for the development of the plan as well as school administrative structure applied so that it will improve the school efficiency.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย