การวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาแคลคูลัส 1 ในภาคเรียนที่ 2 และ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 207 คน การดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ออกแบบแผนกระบวนการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อไปใช้ในการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนกระบวนการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบบันทึกสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษา ด้านความเข้าใจปัญหาได้ร้อยละ 76.65 สามารถแสดงวิธีการแก้ปัญหาได้ร้อยละ 65.42 และสามารถสรุปคำตอบได้ร้อยละ 47.64 (2) ผลการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80.68 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีมาก จากการวิจัยครั้งนี้การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้แผนกระบวนการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ช่วยให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาได้ในระดับดี
RESEARCH IN MATHEMATICS PROBLEM SOLVING PROCESS OF CHIANGMAI RAJABHAT UNIVERSITY STUDENTS
The purpose of this research was to develop mathematics problem-solving skill of Chiang Mai Rajabhat University students. The sample was 207 students who registered in MATH 1401 Calculus 1 course in 2nd and 3rd semester of 2014. The procedure was comprised by constructing the mathematics problem-solving ability plan and used it in teaching activities. The research tool consisted of mathematics problem-solving development plan, the learning test, the behavior-observation form and final test. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation and percentage. The results were concluded as 1) 76.65% of the sample understood understanding the giving-problem, 65.42% of them could solve the problem and 47.64% could summarize the answer. 2) 80.68% of the student passed the criteria with very good band in the final test.According to the results, this research could improve students’ mathematics problem-solving skill in good level.
Article Details
The articles published are copyrighted by the Graduate School, Chiang Mai Rajabhat University.
The opinions expressed in each article of this academic journal are solely those of the individual authors and do not reflect the views of Chiang Mai Rajabhat University or its faculty members. The responsibility for the content of each article rests entirely with the respective authors. In the event of any errors, the authors alone are responsible for their own articles.